การอุดฟัน
ทำไมต้องอุดฟัน
การอุดฟัน เป็นการบูรณะฟันที่เสียหายจากฟันผุให้กลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติและมีรูปร่างเหมือนเก่า ในขณะเดียวกันก็ช่วยไม่ให้ฟันผุเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยจะเป็นการกรอบริเวณที่ผุออกแล้วทำการอุดด้วยวัสดุทางทันตกรรม
ชนิดวัสดุอุดฟัน
- วัสดุอมัลกัม : มีสีเงิน มีความแข็งแรง ทนทาน นิยมใช้อุดฟันกราม
- วัสดุคอมโพสิตเรซิน : มีสีเหมือนฟัน ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติ นิยมใช้อุดฟันหน้า
ขั้นตอนการอุดฟัน
- ทันตแพทย์ทำการตรวจและประเมินฟัน อาจมีการเอ็กซเรย์ร่วมด้วย
- ทันตแพทย์จะมีการใช้ยาชา กรณีที่คนไข้มีอาการกลัว หรือฟันผุลึก
- ทันตแพทย์ทำการกรอฟันเพื่อนำเนื้อฟันส่วนที่ผุที่มีการติดเชื้อออก
- ทันตแพทย์ทำการตกแต่งหลุมบนฟันเพื่อเตรียมการอุด
- ทันตแพทย์ทำการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟัน
- ทันตแพทย์จะตกแต่งผิวฟันให้เรียบและมีการทดสอบโดยการให้กัด หรือลองเคี้ยว
ระยะเวลาในการอุดฟัน
การอุดฟันใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละบุคคล
อายุการใช้งานของการอุดฟัน
อายุการใช้งานของการอุดฟันขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
การดูแลรักษาหลังการอุดฟัน
- หากทำการอุดฟันหน้าไม่ควรใช้ฟันหน้ากัดฉีกอาหารที่มีลักษณะแข็ง เพราะอาจจะทำให้วัสดุที่อุดแตกได้ และอาจลุกลามไปถึงเนื้อฟันส่วนที่ดีได้
- ทำความสะอาดฟันโดยการแปรงฟัน ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก
- พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพวัสดุอุดฟันและตรวจสภาพช่องปาก
คำถามที่่พบบ่อย
A : สัญญาณเตือนฝันผุมี ดังนี้
- อาการปวดฟันหรือเหงือก
- อาการเหงือกบวม
- การมีกลิ่นปากหรือได้รสชาติไม่ดีในปาก
- อาการเสียวฟัน
A : สำหรับผู้ที่ใส่รีเทนเนอร์หรือฟันปลอมก่อนการอุดฟันแนะนำให้นำอุปกรณ์มาด้วย เพื่อให้ทำการลองใส่หลังจากการอุดฟัน ถ้าหากใส่อุปกรณ์ไม่ได้ทางทันตแพทน์จะทำการกรอตกแต่งเพิ่มเติมให้สามารถใส่ได้ปกติ
A : อุดฟันแล้วแต่มีอาการเสียวฟันหลังจากอุดฟันไปใหม่ๆ เกิดจากวัสดุอุดสูงเกินไป หรือเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของวัสดุอุดบางจุด หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากวัสดุ หากอาการไม่ดีขึ้นควรกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม