การถอนฟัน
ถอนฟันคืออะไร
การถอนฟัน เป็นการนำเอาฟันออกไปจากเบ้ากระดูกขากรรไกร ซึ่งถือเป็นการศัลยกรรมช่องปากขั้นพื้นฐานและมีระดับความยากง่ายแตกต่างกันไป
สาเหตุที่ต้องถอนฟัน
- ฟันผุมาก หรือมีการติดเชื้อลุกลาม
- ฟันที่ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่อื่น
- ภาวะโรคเหงือกรุนแรงซึ่งเป็นผลต่อเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูกที่อยู่โดยรอบฟันซี่นั้น
- ฟันที่ต้องถอนเพื่อใช้พื้นที่สำหรับจัดฟัน
- ฟันแตกร้าวที่ไม่สามารถบูรณะได้
- ฟันคุดที่ไม่สามารถขึ้นมาใหม่ในช่องปากได้
- ฟันที่อยู่ระหว่างรอยแตกหักของกระดูกขากรรไกร
- การได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอ อาจมีความจำเป็นต้องถอนฟันในบริเวณที่ได้รับรังสีรักษา
ขั้นตอนการถอนฟัน
- X-ray เพื่อดูลักษณะฟันและรากฟันที่อยู่ภายในกระดูกขากรรไกร เพื่อวางแผนการรักษาก่อนการถอนฟัน
- ทันตแพทย์ใช้ยาชาเฉพาะที่/ยาสลบ (ขึ้นอยู่กับกรณีการรักษา)
- ทันตแพทย์ถอนฟันออก
- หลังจากถอนฟันเสร็จทันตแพทย์จะให้กัดผ้าก๊อซที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
ระยะเวลาในการถอนฟัน
การถอนฟันใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากของเคส
การดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
- แนะนำให้กัดผ้าก๊อซไว้หลังถอนฟันประมาณ 30-60 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ในระยะแรก
- ควรนอนหมอนสูง เพื่อให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว ป้องกันไม่ให้เลือดไหลจากแผล
- ห้ามใช้ลิ้นดุนหรือดูดแผลเล่น จะทำให้เลือดไม่หยุดไหล
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้แผลหายช้า
- ห้ามกลั้วปากหรือบ้วนปากแรงภายใน 24 ชั่วโมงหลังถอนฟัน เพราะจะทำให้เลือดไม่หยุดไหล
- รับประทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และใช้น้ำแข็งประคบประมาณ 15-30 นาที เพื่อลดอาการเจ็บปวดและอาการบวม
การถอนฟัน
1. ภายหลังจากถอนฟัน เลือดที่อยู่ในเบ้าฟันจะเริ่มแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด
2. มีเหงือกเข้ามาปกคลุมขณะเกิดกระบวนการหายของแผล
3. เมื่อพิจารณาเข้าไปที่แผลถอนฟัน ลิ่มเลือดที่อยู่เต็มเบ้าฟันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อและกระดูก
คำถามที่พบบ่อย
ถอนฟันเจ็บไหม ?
A : การถอนฟันนั้นหลีกเลี่ยงอาการเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทันตแพทย์ใช้อาจยาชาหรือยาสลบก่อนที่จะทำการถอนฟันเพื่อบรรเทาอาการปวด และให้ยาบรรเทาอาการปวดหลังถอนฟันv
โรคประจำตัวที่ควรระวังในการถอนฟัน ?
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- โรคความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure)
- โรคหัวใจทุกชนิด (Cardiovascular/ Heart Disease)
ควรแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะแต่ละโรคก็จะมีข้อควรระวัง ข้อปฏิบัติแตกต่างกันเพื่อความปลอดภัยของคนไข้