การเคลือบฟลูออไรด์
การเคลือบฟลูออไรด์ คืออะไร
การเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการเคลือบสารฟลูออไรด์ไปที่ผิวฟันช่วยทำให้โครงสร้างของฟันแข็งแรงทนทานต่อกรดของแบคทีเรียในช่องปากมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอการผุในฟันที่ผุระยะเริ่มแรกและลดโอกาสการเกิดรอยผุใหม่
ขั้นตอนการเคลือบฟลูออไรด์
- ทันตแพทย์ทำความสะอาดผิวฟัน
- เตรียมฟันให้แห้ง โดยการเป่าลมให้แห้งเพื่อให้คราบเดิมของฟลูออไรด์เจลคงที่
- นำฟลูออไรด์เจลใส่ลงในถาดฟลูออไรด์ (fluoride tray)
- ใส่ถาดฟลูออไรด์ (fluoride tray) ทั้งด้านบนและล่าง ให้สัมผัสกับฟันได้ทั่วถึง ประมาณ 4-5 นาที
- นำถาดฟลูออไรด์ (fluoride tray) ออก และทำการดูดเจลที่เหลือออกให้มากที่สุด
ระยะเวลาการเคลือบฟลูออไรด์
ใช้ระยะเวลาในการเคลือบฟลูออไรด์ประมาณ 10 นาที ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของเด็กและผู้ปกครองด้วย
อายุการใช้งานการเคลือบฟลูออไรด์
โดยปกติเด็กควรได้รับการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี ส่วนเด็กที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาฟันผุควรจะเคลือบฟลูออไรด์มากกว่าปีละ 2 ครั้ง
การดูแลรักษาหลังการเคลือบฟลูออไรด์
- หลังเคลือบฟลูออไรด์ควรงดน้ำและอาหาร 30 นาที
- ดูแลรักษาความสะอาดของฟัน เช่น การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน หรือการบ้วนปาก
- พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อทำการตรวจสภาพช่องปากและฟัน
คำถามที่พบบ่อย
A : ยาสีฟันที่ใช้ในเด็กจะมีปริมาณฟลูออไรด์ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันอันตรายจากการได้รับฟลูออไรด์ที่มากเกินไปหากเด็กเผลอกลืนยาสีฟัน ดังนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาเคลือบฟลูออไรด์ร่วมด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของฟัน
- การเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงในครั้งเดียว กล่าวคือจะต้องกลืนฟลูออไรด์ชนิดเคลือบไปเกือบทั้งหมด อาจมีอาการตั้งแต่การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง การรักษาแบบฉุกเฉิน ได้แก่ การดื่มนมมากๆ เพื่อชะลออาการ
- การเป็นพิษแบบเรื้อรัง ในที่นี้หมายถึง ทำให้ฟันมีลักษณะตกกระ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการเคลือบฟลูออไรด์มีความสัมพันธ์หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันตกกระ