การรักษารากฟัน
ทำไมต้องรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน คือ การกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องถอนฟัน สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้
สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน
- ฟันผุใหญ่ จนทะลุโพรงประสาทฟัน
- ฟันแตก หัก จากการกระทบกระแทกจนทะลุโพรงประสาทฟัน
- ปัญหาพฤติกรรมการเคี้ยวอาหารที่รุนแรง
- นอนกัดฟันรุนแรง
- ปัญหาโรคเหงือก
ลักษณะอาการบ่งชี้ถึงปัญหารากฟัน
- มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
- มีอาการเจ็บเวลาเคี้ยวหรือกัดอาหาร
- มีอาการฟันหลวมหรือโยก
- มีหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ
ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาณเตือนการเกิดปัญหารากฟัน แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์
ประเภทของการรักษารากฟัน
- การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
- การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน ( Endodontic Surgery )
การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ เป็นการรักษารากฟันโดยการทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย
ขั้นตอนการรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
นัดหมายครั้งแรก
1. ทันตแพทย์จะทำการเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อออกไป
2. ทันตแพทย์จะทำความสะอาดคลองรากฟันตลอดความยาวรากแต่ไม่เกินปลายราก และใส่ยาลงในคลองรากฟัน
นัดหมายครั้งที่สอง
1. ทันตแพทย์จะเอาวัสดุอุดชั่วคราวออกและล้างยาที่ใส่ไว้ในคลองรากฟัน จากนั้นจึงอุดปิดคลองรากฟัน ในบางรายอาจจะต้องมีการเปลี่ยนยาในคลองรากฟัน และทำความสะอาดหลายครั้ง จนกว่าการติดเชื้อหรือการอักเสบจะหายไป
ผลลัพธ์ของการรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
- บรรเทาอาการปวดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปในคลองรากฟันได้อีก
- สามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป
การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน (Endodontic Surgery)
จะเลือกใช้ในกรณีที่การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติล้มเหลวหรือไม่สามารถทำการรักษาคลองรากฟันซ้ำได้ เช่น มีครอบฟันและเดือยฟันขนาดใหญ่ โดยวิธีนี้จะจะผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็นหนอง และทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน
1. การตัดปลายราก ออกบางส่วนรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันออกและทำความสะอาดปลายราก
2. อุดด้วยวัสดุอุดย้อนเข้าไปทางปลายรากที่ทำความสะอาดและทำการเย็บปิดเหงือกเพื่อให้เนื้อเยื่อมีการหายอย่างเหมาะสม
ระยะเวลาในการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาในการรักษา 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับปัญหาของฟันซี่นั้นๆ
อายุการใช้งานการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันสามารถให้ผลลัพธ์อยู่ได้อย่างยาวนาน แต่จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพฟันสม่ำเสมอ
การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน
- ไม่ควรเคี้ยวหรือกัดอาหารแข็งด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน
- รักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน
- พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพช่องปากและฟัน
คำถามที่พบบ่อย
A : การถอนฟันไปเลยอาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เนื่องจากอาจมีปัญหา ฟันล้ม ฟันเก ฟันเอียง อาจทำให้เกิดปัญหาโรคเหงือก ปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร และอื่นๆ ซึ่งหากเลือกการถอนฟัน ก็ควรใส่ฟันเพื่อทดแทนฟันซี่ที่ถอนไป
A : ฟันตาย เป็นฟันที่ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงโพรงประสาทฟันทำให้เซลล์ต่างๆ ในฟันตายไป หยุดการทำงานไป ซึ่งจะควรทำการรักษารากฟันกำจัดเนื้อเยื้อที่ตายแล้ว และทำความสะอาดคลองราก
A : เมื่อมีอาการต่อไปนี้หลังจากทำการรักษารากฟันให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
- เกิดอาการบวมข้างในหรือนอกช่องปากอย่างเห็นได้ชัด
- เกิดการแพ้ยา เช่น เกิดอาการคัน ผื่นขึ้น ลมพิษ
- อาการคล้ายเดิมเมื่อยังไม่ได้รักษารากฟัน เช่น รู้สึกว่าการเคี้ยวไม่เสมอกัน หรือฟันสบกันไม่พอดี เป็นต้น