ทันตกรรมทั่วไป

การทันตกรรมทั่วไป เป็นการให้บริการเกี่ยวกับการตรวจสภาพช่องปาก การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ การให้คำปรึกษาพร้อมวางแผนการรักษา เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งประกอบไปด้วย

การตรวจวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม

เป็นขั้นตอนแรกในการรักษาช่วยในการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องถ่ายภาพเอ็กซเรย์และพิมพ์ปากเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษา

ลงทะเบียนทำนัด

การขูดหินปูนและขัดฟัน

ทำไมต้องขูดหินปูนและขัดฟัน?

การขูดหินปูนและการขัดฟัน เป็นการกำจัดคราบที่เกิดจากการสะสมของคราบพลัคจนทำให้มีการก่อตัวเป็นคราบที่มีลักษณะแข็งและหยาบ เรียกว่า “หินน้ำลายหรือหินปูน” ซึ่งไม่สามารถขจัดออกด้วยการแปรงฟัน ถ้าหากไม่ขจัดหินปูนออกคราบพลัคจะก่อตัวมากยิ่งขึ้นบริเวณรอบๆ ฟันและบริเวณใต้แนวเหงือก อาจทำให้ลุกลามไปสู่ปัญหาสุขภาพเหงือก ฟันผุ ฟันเหลือง มีกลิ่นปาก หรือทำให้สูญเสียฟันได้

ขั้นตอนการขูดหินปูนและขัดฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจสุขภาพช่องปากว่ามีคราบหินปูนมากน้อยแค่ไหน
  2. ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่มีแรงสั่นสะเทือนความถี่สูง ทำให้หินปูนหลุดออก
  3. ทันตแพทย์ทำความสะอาดฟัน

ระยะเวลาในการขูดหินปูนและขัดฟัน

การขูดหินปูนและขัดฟันใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนของคราบหินปูน

อายุการใช้งานการขูดหินปูนและการขัดฟัน

เนื่องจากคราบพลัคมีการสะสมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงแนะนำให้มีการขูดหินปูนและการขัดฟันทุกๆ 6 เดือน

การดูแลรักษาหลังขูดหินปูน

  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • แนะนำให้เลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว หวานและเย็นจัด เนื่องจากอาจจะมีอาการเสียวฟัน
  • ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีหินปูนในช่องปากเร็วกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจช่องปากและทำการขูดหินปูน

คำถามที่พบบ่อย

ใครบ้างต้องระวังการขูดหินปูนและการขัดฟัน ?

A : ผู้ที่ต้องระวังเรื่องการขูดหินปูนและการขัดฟัน ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคตับ โรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ควรอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์และแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขูดหินปูนได้
  • ผู้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ไม่ควรขูดหินปูนด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าจะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ ดั้งนั้นหากต้องการขูดหินปูนจริงๆ จะต้องขูดหินปูนโดยใช้เครื่องมือขูดหินปูนด้วยมือเท่านั้น

A : การขูดหินปูนอาจมีอาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้ปกติ แต่ต้องมีอาการเสียวฟันเพียงเล็กน้อยหากเสียวฟันมากทันตแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาชาเฉพาะที่ สำหรับอาการเสียวฟันจากการขูดหินปูนเกิดจากหินปูนที่หุ้มรากฟันอยู่จะถูกกำจัดออกไปทำให้ไม่มีอะไรมาปิดหุ้มเนื้อฟันไว้ ส่งผลให้ประสาทรับรู้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียวฟันได้

A : แนะนำว่าอย่าทำการขูดหินปูนด้วยตนเองเป็นอันขาด เพราะนอกจากจะเอาคราบหินปูนออกจากฟันไม่ได้แล้ว อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เกิดแผลในช่องปากจน หรือเหงือกอักเสบบวมได้ ดังนั้นถ้าต้องการนำคราบหินปูนออกควรให้ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือโดยเฉพาะในการขูดหินปูนเท่านั้น

ลงทะเบียนทำนัด

การอุดฟัน

ทำไมต้องอุดฟัน

การอุดฟัน เป็นการบูรณะฟันที่เสียหายจากฟันผุให้กลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติและมีรูปร่างเหมือนเก่า ในขณะเดียวกันก็ช่วยไม่ให้ฟันผุเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยจะเป็นการกรอบริเวณที่ผุออกแล้วทำการอุดด้วยวัสดุทางทันตกรรม

ชนิดวัสดุอุดฟัน

  • วัสดุอมัลกัม : มีสีเงิน มีความแข็งแรง ทนทาน นิยมใช้อุดฟันกราม
  • วัสดุคอมโพสิตเรซิน : มีสีเหมือนฟัน ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติ นิยมใช้อุดฟันหน้า

ขั้นตอนการอุดฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจและประเมินฟัน อาจมีการเอ็กซเรย์ร่วมด้วย
  2. ทันตแพทย์จะมีการใช้ยาชา กรณีที่คนไข้มีอาการกลัว หรือฟันผุลึก
  3. ทันตแพทย์ทำการกรอฟันเพื่อนำเนื้อฟันส่วนที่ผุที่มีการติดเชื้อออก
  4. ทันตแพทย์ทำการตกแต่งหลุมบนฟันเพื่อเตรียมการอุด
  5. ทันตแพทย์ทำการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟัน
  6. ทันตแพทย์จะตกแต่งผิวฟันให้เรียบและมีการทดสอบโดยการให้กัด หรือลองเคี้ยว

ระยะเวลาในการอุดฟัน

การอุดฟันใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละบุคคล

อายุการใช้งานของการอุดฟัน

อายุการใช้งานของการอุดฟันขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

การดูแลรักษาหลังการอุดฟัน

  • หากทำการอุดฟันหน้าไม่ควรใช้ฟันหน้ากัดฉีกอาหารที่มีลักษณะแข็ง เพราะอาจจะทำให้วัสดุที่อุดแตกได้ และอาจลุกลามไปถึงเนื้อฟันส่วนที่ดีได้
  • ทำความสะอาดฟันโดยการแปรงฟัน ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก
  • พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพวัสดุอุดฟันและตรวจสภาพช่องปาก

คำถามที่พบบ่อย

สัญญาณเตือนฟันผุ มีอะไรบ้าง ?

A : สัญญาณเตือนฝันผุมี ดังนี้

  • อาการปวดฟันหรือเหงือก
  • อาการเหงือกบวม
  • การมีกลิ่นปากหรือได้รสชาติไม่ดีในปาก
  • อาการเสียวฟัน

A : สำหรับผู้ที่ใส่รีเทนเนอร์หรือฟันปลอมก่อนการอุดฟันแนะนำให้นำอุปกรณ์มาด้วย เพื่อให้ทำการลองใส่หลังจากการอุดฟัน ถ้าหากใส่อุปกรณ์ไม่ได้ทางทันตแพทน์จะทำการกรอตกแต่งเพิ่มเติมให้สามารถใส่ได้ปกติ

A : อุดฟันแล้วแต่มีอาการเสียวฟันหลังจากอุดฟันไปใหม่ๆ เกิดจากวัสดุอุดสูงเกินไป หรือเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของวัสดุอุดบางจุด หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากวัสดุ หากอาการไม่ดีขึ้นควรกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม

ลงทะเบียนทำนัด