การทำรากฟันเทียมโดยปกติแล้วจะมีการใส่ตัวรากเทียม (Fixture) หรือตัวสกรู ฝังเข้าไปในกระดูกก่อน ต้องรอระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ก่อนที่เราจะใส่ส่วนที่ 2 คือ ตัว เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment)เข้าไป และตามด้วยการทำครอบฟัน (Crown) ปิดรากเทียม
แต่หากเปรียบเทียบกับการทำสะพานฟัน
ยกตัวอย่าง เช่น คนไข้สูญเสียฟันหน้าไป หากเป็นการทำสะพานฟัน ต้องมีการเตรียมผิวฟันของซี่ข้างๆทั้ง 2 ซี่ เพื่อเป็นตัวรองรับต้วสะพานฟันอีกทีนึง โดยทั้ง 2 ซี่นั้นเป็น ฟันธรรมชาติ ฟันปกติ คุณภาพดี กลายเป็นต้องเสียเนื้อฟันไป ถึงสามารถใส่ตัวสะพานฟันได้ ซึ่งผลลัพธ์นั้นก็ออกมาสวยเหมือนกับรากฟันเทียม
ข้อสังเกตของการทำสะพานฟัน
สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะยาวคือเมื่อใส่สะพานฟันไปนานๆ เหงือกของเราและกระดูกบริเวณที่ไม่มีฟันจะค่อยๆหดและร่นลงไป โดยธรรมชาติแล้ว บริเวณใดที่ไม่มีฟันหรือรากฟันจะทำให้กระดูกละลายหายไปทันที เมื่อเรารับประทานอาหารก็อาจทำให้เศษอาหารหลุดเข้าไปติดบริเวณขอบของสะพานฟันเรา ทำให้เกิดฟันผุและติดเชื้อได้ อาจทำให้เชื้อลุกลามเข้าไปที่ตัวครอบฟันและไปยังปลายรากฟัน ทำให้เกิดเป็นหนอง ผลที่ตามมาคือ เมื่อสะพานฟันของเราโยก ส่งผลถึงปลายรากฟันที่ติดเชื้ออยู่แล้วเกิดอาการบวมขึ้น หากมีการอักเสบติดเชื้ออาจทำให้มีหนองไหลออกมาจากเหงือกได้ เมื่อสังเกตดูจากภายนอกอาจเป็นแค่บวมแดง แต่แท้ที่จริงแล้วกระดูกข้างในมีการละลาย ทำให้มีความจำเป็นต้องนำตัวสะพานฟันออก หากฟันที่เป็นฐานของสะพานฟันไม่สามารถบูรณะได้อาจถอนฟันออก ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย และหากยังทำสะพานฟันต่อก็ต้องขยับไปใช้ซี่ถัดไป ก็จะเกิดปัญหาเดิมแบบนี้ไปตลอด
สรุป
หลายคนอาจะเข้าใจว่าการทำรากฟันเทียมแพง การทำรากฟันเทียมในระยะยาวถือว่าถูกกว่าและคุ้มกว่ามากๆ เพราะ หากพูดถึงเคสที่กล่าวในบทความ ฟัน 2 ซี่ข้างๆที่เราจะใส่รากฟันเทียมนั้น เราไม่ได้สูญเสียเนื้อฟันเลย หากเกิดปัญหาที่รากฟันเทียมเราก็แก้ปัญหาเฉพาะซี่นั้นซี่เดียว หากเป็นสะพานฟันเกิดปัญหา เราต้องมีการรื้อตัวสะพานฟันและฟันซี่ข้างๆที่เป็นตัวฐานของสะพานฟันก็ต้องถูกรักษาแก้ไขด้วย อาจต้องกรอฟันซ้ำ รักษารากฟัน หรือบูรณะไม่ได้ก็ต้องถูกถอนออกไป ดังนั้นการทำสะพานฟันในระยะยยาว ถือว่าแพงกว่าการทำรากฟันเทียมอย่างแน่นอน