เครื่องมือแก้ไขการสบฟัน (นอนกัดฟัน)

เฝือกสบฟัน ( Occlusal Splint ) เป็นเครื่องมือทางทันตกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งทันตแพทย์ทำขึ้นมาเฉพาะบุคคลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว หรือผู้ที่มีอาการนอนกัดฟัน

ชนิดของเฝือกสบฟัน

  1. เฝือกสบฟันชนิดอ่อน (Soft Occlusal Splint) : ทำจากวัสดุนิ่ม ทำได้ง่าย
  2. เฝือกสบฟันชนิดแข็ง (Hard Occlusal splint) : ทำจากพลาสติกชนิดแข็ง

ขั้นตอนการทำเฝือกสบฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจสุขภาพช่องปาก การสบฟัน และวางแผนการรักษา
  2. ทำการพิมพ์ฟัน เพื่อนำไปทำเฝือกสบฟัน
  3. ทันตแพทย์ทำการแนะนำการใส่อุปกรณ์

ระยะเวลาในการทำเฝือกสบฟัน

ระยะเวลาในการทำเฝือกสบฟันจะขึ้นอยู่กับชนิดของเฝือกสบฟันอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

อายุการใช้งานของเฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟันชนิดอ่อนจะมีอายุการใช้งานไม่นานมากนัก อุปกรณ์สามารถฉีกขาดได้ง่าย ส่วนเฝือกสบฟันชนิดแข็งจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของแต่ละบุคคล

การดูแลรักษาหลังใส่เฝือกสบฟัน

  • ทำความสะอาดเฝือกสบฟันด้วยแปรงสีฟันขนนิ่ม
  • ใส่เฝือกสบฟันในช่วงเวลากลางคืน หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  • ตรวจสอบการสบฟันของตนเองทุกวัน
  • แนะนำให้เข้ามาพบทันตแพทย์ตามนัด เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจเช็กอุปกรณ์

คำถามที่พบบ่อย

ใครบ้างควรใส่เฝือกสบฟัน ?

A : คนที่ควรใส่เฝือกสบฟัน มีดังนี้

  • คนที่มีนิสัยนอนกัดฟัน หรือขบฟัน ในเวลากลางวัน/กลางคืน
  • คนที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมากกว่าปกติ
  • คนที่มีอาการติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
  • คนที่มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร

A : สัญญาณเตือนนอนกันฟัน มีดังนี้

  • มีอาการปวดเมื่อยแก้ม กระพุ้งแก้ม
  • กล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีอาการปวด
  • มีเสียงบริเวณข้อต่อขากรรไกร
  • ฟันหรือวัสดุอุดมีการสึก แตกร้าว

A : หากนอนกัดฟันแต่ไม่ใส่เฝือกสบฟันทำให้เกิดผลเสียในเรื่องของการปวดข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว อาจส่งผลทำให้ฟันแตกและเกิดปัญหาในช่องปากตามมาได้