โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบ เป็นการอักเสบหรือติดเชื้อจะเกิดเฉพาะกับเหงือกเท่านั้น ซึ่งแทบทุกคนเคยมีภาวะเหงือกอักเสบ หากภาวะเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดโรคปริทันต์ตามมาได้
สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบ เป็นการอักเสบหรือติดเชื้อของเหงือกซึ่งเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ก่อตัวขึ้นตามรอยต่อระหว่างฟันละเหงือก หรือที่เรียกว่าบริเวณคอฟัน ซอกฟัน เมื่อแบคทีเรียไม่ถูกกำจัดออก จะปล่อยกรดและสารพิษออกมาทำให้เหงือกอักเสบ
อาการของโรคเหงือกอักเสบ
- มีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
- เหงือกสีแดงและบวม
- ฟันดูขาวขึ้น เนื่องจากเหงือกร่น
ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก
การรักษาด้วยตัวเอง
สามารถทำความสะอาดโดยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเป็นประจำ
การรักษาโดยทันตแพทย์
จะเป็นการทำความสะอาดฟันโดยการขูดหินปูนและการขัดฟัน
- ทำการปรึกษาทันตแพทย์
- ทันตแพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะผู้ที่มีอาการกลัว
- ทันตแพทย์ทำการขูดหินปูนโดยใช้การขูดด้วยมือ (Hand Instrument) หรือใช้เครื่องขูดอัลตราโซนิคที่สั่นด้วยความถี่
- ทันตแพทย์ทำความสะอาดฟัน
ระยะเวลาในการรักษาโรคเหงือก
โรคเหงือกอักเสบมีการทำลายเนื้อเยื่อและเหงือกทำให้เหงือกร่น ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างกลับมาเหมือนเดิมได้ และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาดูแลด้วยการทำความสะอาดฟันด้วยตนเองทุกวันอย่างถูกวิธีตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
อายุการใช้งานในการรักษาโรคเหงือก
การรักษาโรคเหงือกนอกจากทำความสะอาดด้วยตัวเองทุกวันแล้วยังต้องขูดหินปูนและขัดฟันทุกๆ 3-6 เดือนด้วย
การดูแลรักษาหลังการรักษาโรคเหงือก
- ทำแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อย่างถูกวิธี
- ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก
- การรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความต้านทานต่อการอักเสบหรือติดเชื้อ เช่น ไม่สูบบุหรี่
- พบทันตแพทย์ทุกๆ 3-6 เดือนเพื่อทำการขูดหินปูนและขัดฟัน รวมถึงตรวจสุขภาพช่องปาก
คำถามที่พบบ่อย
A : โรคเหงือกอักเสบ ทำให้มีการทำลายทั้งเนื้อเยื่อและกระดูกไปแล้ว และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ แต่สามารถดูแลความสะอาดให้อย่างมีประสิทธิภาพ
A : โรคเหงือกอักเสบเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นได้และเปลี่ยนจากโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคปริทันต์ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจส่งผลทำให้สูญเสียฟันได้ในที่สุด