ส่วนใหญ่แล้ว “อาการคันเหงือก” มักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ที่ฟันกำลังจะขึ้น แต่สำหรับอาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสภาวะต่าง ๆ รวมถึงโรคเหงือก หากคุณเคยพบกับอาการ “คันเหงือก” และอยากรู้สาเหตุและวิธีการแก้ไขที่ทันตแพทย์แนะนำ วันนี้ TDH Dental มีคำแนะนำจากทันตแพทย์ TDH มาฝาก

สาเหตุที่ทำให้มีอาการคันและระคายเหงือก

1. มีคราบจุลินทรีย์สะสม

เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นคราบเหนียว ๆ จากการสะสมของเศษอาหารผสมกับแบคทีเรีย จับตัวกันและเกาะอยู่ตามซอกฟัน หากมีการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี คราบจุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะทำทำให้เกิดปัญหา โรคเหงือก ได้ นอกจากนี้ คราบจุลินทรีย์เหล่านี้ ยังทำให้เลือดออกขณะแปรงฟันและเกิด อาการคันเหงือก อีกด้วย

2. ปัญหาสุขภาพเหงือก

หากละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากทำให้เกิดอาการคันเหงือก หรือ เหงือกบวม ทั้งนี้อาการคันเหงือกยังไม่ร้ายแรงเท่าอาการบวมและเลือดออกที่เกิดจากปัญหาสุขภาพเหงือก โชคดีที่การเกลารากฟันโดยผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมและการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากที่บ้าน เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากทุกวัน จะช่วยป้องกันไม่ให้คันเหงือกและมีปัญหาสุขภาพเหงือกขึ้นอีก

3. เหงือกอักเสบ

โดยเกิดจากการที่เราแปรงฟันไม่สะอาด ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ดี จนก่อให้เกิดแบคทีเรียจนกลายไปเป็นหินปูนที่เกาะอยู่ตามซอกฟัน หากเกิดการสะะสมเป็นเวลานาน ปัญหาที่ตามมาคือ เหงือกจะมีอาการบวมและอักเสบ ซึ่งนอกจากเรื่องของการรักษาความสะอาดแล้วก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของเหงือกบวกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่, มีฟันคุดภายในช่องปาก, การใส่อุปกรณ์จัดฟัน, การใช้ยาบางชนิด อย่างยาคุมกำเนิด ขาดสารอาหาร ตลอดไปจนถึงปัจจัยทางพันธุกรรม

4. เหงือกได้รับการบาดเจ็บ

เมื่อเหงือกได้รับบาดเจ็บ อาจทำให้รู้สึกปวด รู้สึกไม่สบายที่เหงือก และเกิดอาการคันเหงือก ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกเกิดการระคายเคืองและคันได้

5. อาการแพ้

อาการภูมิแพ้ทำให้มีอาการคันที่ตา จมูก ผิวหนัง และบางครั้งที่เหงือกด้วย อาการคันในช่องปากมักถูกกระตุ้นได้ จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ ผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น ยาสีฟัน, น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น ที่มีส่วนประกอบเฉพาะซึ่งอาจระคายเหงือกและทำให้อักเสบจนเกิดอาการคันได้ และอาการแพ้ในช่องปาก อาจส่งผลให้ริมฝีปากบวม ระคายคอ คันปากและเหงือกได้

6. อุปกรณ์ทันตกรรมที่ไม่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมไม่ว่าจะทั้งปากหรือว่าใส่เพียงบางส่วน อาจทำให้เกิดปัญหาคันเหงือกได้ เมื่อเกิดช่องว่างระหว่างฟันปลอมและเหงือกเศษอาหารอาจเข้าไปติดอยู่ตามซอก จนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโต จนทำให้เกิดการอักเสบและ อาการคันเหงือก

7. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามธรรมชาติ อาจส่งผลต่อความรู้สึกของเหงือก ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นอาการคันเหงือกได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์

8. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารแบบไม่ถูกสุขลักษณะอย่างการดื่มน้ำอัดลมหรือการรับประทานอาหารทอด รวมทั้งไม่แปรงฟันทันทีหลังรับประทานอาหารดังกล่าว

อาการคันเหงือกในผู้ใหญ่

วิธีบรรเทาอาการคันเหงือกด้วยตัวเอง

ในระยะแรกหรือมีอาการเบื้องต้นอาการยังไม่รุนแรงมาก เพราะมันยังมีวิธี รักษาและเราก็สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองอย่างวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้างจากเศษอาหาร
  • หากเหงือกมีอาการบวมสามารถใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเพื่อบรรเทา อาการปวด
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ทานยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด

สำหรับคนที่มีอาการคันเหงือก เหงือกบวมขั้นรุนแรง หรือมีอาการปวด บวมเรื้อรังจนยากที่จะรักษาเอง ขอแนะนำว่าควรไปพบทันตแพทย์จะดีที่สุด และไม่ควรซื้อยาแก้เหงือกอักเสบมาทานเอง เพราะถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นอาจก่อให้เกิดโรคปริทันต์ ที่ทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟันได้รับความเสียหายจนไม่สามารถคืนสภาพเดิมได้

วิธีป้องกันการเกิด “อาการคันเหงือก”

  1. ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อลดการระคายเคือง หรือใช้ไหมขัดฟันทำความ สะอาดคราบสกปรก
  2. ทานอาหารทีมีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินซีสูง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหงือกและฟัน
  3. สังเกตอาการผิดปกติของฟันและเหงือก เพื่อที่จะได้รักษาอย่างทันท่วงที หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและอาหารที่มีรสหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
  4. ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังมื้ออาหาร และควรแปรงฟันอย่างถูก วิธี
  5. ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อขอคำปรึกษาและ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

รักษา “เหงือก” ปริทันตวิทยาที่ TDH Dental

ที่ TDH Dental มีบริการที่ครอบคลุมในด้านปริทันตวิทยา หรือที่เราเรียกว่า “โรคเหงือก” ซึ่งเป็นการอักเสบ หรือการติดเชื้อของเนื้อเยื่อปริทันต์ เหงือก กระดูกรอบฟัน และเอ็นยึดปริทันต์ ทั้งหมดเป็นเนื้อเยื่อที่รองรับและค้ำจุนให้ฟันคงอยู่ได้ การรักษาด้านปริทันตวิยาที่ TDH Dental มาพร้อมเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเครื่องสแกนฟัน 5 มิติรุ่นใหม่ล่าสุด iTero Element Plus Series, เครื่องสแกน CT Scan, เครื่อง X-ray Kodak 8000C หรือห้อง Digital Data Studio