การทำสะพานฟันเด็ก ทางเลือกใหม่ของหนูๆ ที่สูญเสียฟันอย่างถาวร

สำหรับเด็กๆ ที่สูญเสียฟันแท้ไปจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟันผุลึก หรือฟันบิ่น แตก หัก จนไม่สามารถซ่อมแซมด้วยการอุดได้ การทำสะพานฟันเป็นหนึ่งในวิธีการยอดนิยมที่คุณหมอฟันเด็กแนะนำในการทดแทนฟันธรรมชาติและอุดปิดช่องว่างของฟันที่เสียไป เพื่อให้หนูๆ ยังดูมีฟันครบและสามารถใช้งานได้ตามเดิม สามารถยิ้มและรับประทานอาหารได้อย่างมั่นใจ ในบทความนี้เราเลยจะพาไปทำความรู้จักว่า “สะพานฟัน” คืออะไร เหมาะกับใคร แล้วมีข้อแนะนำหลังการทำสะพานฟันยังไงบ้าง

สะพานฟัน คืออะไร

สะพานฟัน (Dental bridge) คือ การใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นเข้าไปทดแทนช่องว่างของฟันซี่ที่หายไป โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงทั้ง 2 ข้าง เป็นหลักในการยึดฟันปลอมนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คนที่ฟันเสียหายหรือถูกถอนออกไป กลับมามีฟันครบถ้วนสวยงาม และสามารถใช้งานได้ตามปกติ

ในขั้นตอนการทำสะพานฟัน หากเรามีฟันที่หายไป 1 ซี่ คุณหมอก็จะทำการกรอฟันที่ขนาบข้างซ้ายขวาของช่องว่างนั้นให้มีขนาดเล็กลง จากนั้นจึงทำสะพานฟัน 3 ซี่ติดกันมาครอบทับลงไป ในลักษณะเหมือนกับสะพานเชื่อม โดยส่วนที่สวมทับฟันซี่ที่หายไปจะเรียกว่า “ฟันลอย” ซึ่งเทคนิคนี้สามารถทำเพื่อทดแทนฟันที่หายไปมากกว่า 1 ซี่ได้เช่นกัน

 

สะพานฟันเด็ก คืออะไร

สะพานฟัน มีกี่ประเภท

สะพานฟันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สะพานฟันทั่วไป

เป็นประเภทที่นิยมทำมากที่สุด โดยต้องใช้ฟันธรรมชาติซ้ายขวาทั้งสองซี่เป็นหลักยึดของฟันลอย คุณหมอจึงจำเป็นต้องกรอฟันด้านข้างทั้งสองซี่ออกก่อนจึงจะใส่สะพานฟันครอบได้ ข้อดีของสะพานฟันแบบนี้คือมีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันธรรมชาติที่แข็งแรงออกไปถึง 2 ซี่ด้วยกัน

2. สะพานฟันชนิดฟันยื่น หรือแบบมีหลักยึดข้างเดียว

มีลักษณะคล้ายกับสะพานฟันแบบทั่วไป แต่จะอาศัยการยึดกับฟันธรรมชาติเพียงซี่เดียวเท่านั้น ทำให้ความแข็งแรงทนทานอาจลดลงเล็กน้อย ถ้าเคี้ยวอาหารที่แข็งมากๆ ฟันปลอมก็มีโอกาสแตกหักได้ แต่ข้อดีคือฟันธรรมชาติของเราจะถูกกรอเพียงแค่ 1 ซี่

3. สะพานฟันแบบแมรี่เลนด์ หรือแบบปีกผีเสื้อ

สะพานฟันประเภทนี้จะอาศัยตัวยึดเกาะที่เป็นวัสดุเรซินกับโครงโลหะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ติดไว้ที่ด้านหลังของฟันปลอม และยึดเข้ากับฟันซี่ข้างเคียงทั้งซ้ายและขวา ทำให้ไม่จำเป็นต้องกรอฟันธรรมชาติด้านข้างออกเลย ข้อดีคือเราไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติที่แข็งแรงไป แต่ข้อเสียก็คือความทนทานจะน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับสะพานฟันประเภทอื่น

 

การทำสะพานฟันเหมาะกับใคร

  • คนที่มีฟันแท้หลุด หรือเสียหายรุนแรง แล้วต้องการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น
  • คนที่มีฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ โดยเป็นซี่ที่อยู่ติดกัน
  • คนที่มีฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่ แล้วต้องฝังรากฟันเทียม แต่ไม่อยากทำรากฟันเทียมทุกซี่ ก็สามารถทำสะพานครอบทับคราวละหลายซี่ โดยอาศัยซี่ที่ทำรากฟันเทียมเป็นหลักยึดก็ได้

ขั้นตอนการทำสะพานฟัน

  1. ทันตแพทย์จะทำพูดคุยกับน้อง ๆ หนู ๆ ให้ผ่อนคลาย ไม่กลัวการทำฟัน ก่อนจะฉีดยาชาให้เพื่อเริ่มกระบวนการกรอฟัน
  2. ทันตแพทย์ทำการกรอฟันซี่ที่จะใช้เป็นหลักยึดของสะพานฟัน พร้อมกับยึดสะพานฟั่นชั่วคราวให้ เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทดลองใช้สะพานฟันระหว่างชิ้นงานจริง
  3. ประมาณ 1 สัปดาห์ถัดมา ทันตแพทย์จะนัดมาเปลี่ยนเป็นสะพานฟันตัวจริง พร้อมทำการปรับแต่งสะพานฟันให้เหมาะสมกับช่องปากของเด็ก ๆ
  4. โดยหลังจากกระบวนข้างต้น ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายมาตรวจเช็คอีกรอบตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมักจะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังจากติดสะพานฟัน

ข้อแนะนำหลังการทำสะพานฟัน

  • หลังการทำสะพานฟัน ทันตแพทย์มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็งและเหนียว ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทำสะพานฟัน แต่สามารถทานอาหารอ่อนๆ ได้
  • คนไข้บางคนอาจมีอาการเสียวฟัน ซึ่งอาการมักหายได้เองภายใน 2 – 3 วัน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีอาการเสียวฟัน ควรงดรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป อาจใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน หรือรับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของทันตแพทย์
  • หากมีอาการเจ็บและเหงือกบวม อาจบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2 – 3 ครั้ง ร่วมกับประคบเย็นครั้งละ 10 – 15 นาที เพื่อบรรเทาอาการ แต่โดยปกติอาการเจ็บจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์

คำแนะนำ: นอกจากนี้ หลังจากทำสะพานฟันไปแล้ว เราก็ยังคงต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี โดยการแปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ระมัดระวังไม่เคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป และมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันทุกๆ 6 – 12 เดือนด้วย

พาลูกมาทำสะพานอย่างปลอดภัย ที่ TDH Dental

ที่คลินิกทันตกรรม TDH Dental เรามีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ซึ่งเชี่ยวชาญในการทำสะพานฟัน ครอบฟัน ฟันปลอม และรากฟันเทียมโดยเฉพาะ จึงมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัย และมาตรฐานการรักษาระดับสากล

นอกจากนี้ สำหรับน้องๆ หนูๆ ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ และต้องการแก้ไขด้วยการทำสะพานฟัน ศูนย์ทันตกรรมเด็ก TDH Kids ก็มีบริการด้านทันตกรรมที่ดูแลโดยทีมทันตแพทย์เด็ก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในระบบฟันเด็กโดยเฉพาะ รวมถึงมีจิตวิทยาที่ดีในการรับมือกับคนไข้ตัวน้อย จึงวางใจได้ว่าการทำฟันของเด็กๆ จะราบรื่นปลอดภัย และช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟันในอนาคตด้วย