วัสดุอุดฟัน มีกี่แบบ

ทำไมต้องอุดฟัน และเลือกวัสดุอุดฟันแบบไหนดี ?

เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองมีฟันผุเกิดขึ้นในช่องปาก และต้องไปอุดฟัน อาจเกิดข้อสงสัยที่ว่า จะเลือกอุดฟันแบบไหนดี เพราะปัจจุบันการอุดฟันนั้นมีหลายรูปแบบ ทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าจะเลือกวัสดุแบบไหนดี วันนี้เราเลยมีข้อมูลเกี่ยวกับประเภทวัสดุอุดฟันที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ มาให้คุณทำความเข้าใจก่อนไปหาหมอฟันจริง ๆ ข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยให้คุณมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกวัสดุอุดฟันมากขึ้น แต่เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด คุณควรขอคำแนะนำจากทันตแพทย์ที่คลินิกโดยตรง เพื่อให้ฟันที่มีปัญหาได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

อุดฟัน คืออะไร

การอุดฟัน คือ การทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปจากกรณีฟันผุ ฟันสึก ฟันแตกหัก หรือ บิ่นเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมถึงวัสดุเก่าชำรุดหรือบิ่น เพื่อให้กลับมามีรูปร่างฟันตามปกติ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้ มีความสวยงาม โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจและวินิจฉัยว่าควรได้รับการอุดฟันหรือไม่ Tooth Fillingจะช่วยป้องกันการผุไม่ให้ลุกลามด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ได้แก่ อมัลกัม, คอมโพสิตเรซิน, พอร์ซเลน และทอง รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไปที่เรากำลังจะพูดถึงนี้เลย

วัสดุอุดฟัน มีกี่แบบ

1.การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam)

การอุดฟันที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะการอุดฟันแบบนี้ค่อนข้างมีความคงทน ราคาไม่แพง และอายุการใช้งานยาวนาน เฉลี่ย 10 - 20 ปี จึงได้รับความนิยม วัสดุอมัลกัมจะมีสีเข้ม มองเห็นได้ชัดกว่าการอุดฟันด้วยคอมโพสิต และไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า ซึ่งการอุดฟันแบบนี้ เนื้อฟันจะถูกกรอออกให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการใส่วัสดุอุดฟันลงบริเวณที่มีการผุ ส่วนมากนิยมใช้อุดฟันกราม หรือบริเวณสำหรับบดเคี้ยวอาหาร

2.การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin)

การอุดฟันสีเหมือนฟันด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน ที่มีสีเหมือนกับฟันธรรมชาติ มักถูกเลือกใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติหรือฟันด้านหน้า โดยทันตแพทย์จะนำวัสดุมาปั้นและปรับแต่งให้ได้รูป แล้วค่อยนำไปอุดลงตรงเนื้อฟันที่หายไป ซึ่งวัสดุคอมโพสิตนี้จะไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้หรือบริเวณที่มีการใช้งานบดเคี้ยว เพราะมีความแข็งแรงและทนทานน้อยกว่าวัสดุอะมัลกัม มีโอกาสหลุดออกหรือแตกได้ง่ายกว่า

3. การอุดฟันด้วยพอร์ซเลน (Porcelain)

วัสดุอุดฟันชนิดนี้ทำมาจากเซรามิกทางทันตกรรมคุณภาพสูง การอุดฟันจะทำในห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม เพื่อให้การอุดวัสดุลงบนเนื้อฟันแต่ละครั้งมีขนาดที่พอดีกับฟันมากที่สุด สามารถใช้รักษาฟันผุที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่ค่าใช้จ่ายในการอุดฟันด้วยพอร์ซเลนจะมีราคาแพงกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัม จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

4. การอุดฟันด้วยทอง (Gold Filling)

ทองที่ใช้สำหรับการอุดฟันนั้น ผลิตจากทองสำหรับด้านทันตกรรม ทองที่นำมาใช้ในการอุดฟันนั้นจะถูกทำขึ้นเฉพาะรายบุคคลในห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม กระบวนการรักษาจะมีความซับซ้อนมากกว่าวัสดุอุดฟันชนิดอื่น และต้องเข้าพบทันตแพทย์บ่อยกว่า การอุดฟันด้วยทองนั้นมีโอกาสเกิดการระคายเคืองในช่องปากน้อย เนื้อวัสดุคงทน อายุการใช้งานยาวนาน แต่ได้รับความนิยมไม่มากนัก เนื่องจากการอุดฟันด้วยทองมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการอุดฟันชนิดอื่น

ฟันแบบไหนที่จำเป็นต้องอุดฟัน

บางคนอาจกำลังเจอกับปัญหาสุขภาพฟันที่มีอาการผิดแปลกไปจากเดิม สังเกตว่าการเคี้ยวอาหารของตัวเองผิดปกติไปจากเดิม หรือบางทีก็รู้สึกเสียวฟันบ้าง วันนี้เราเลยรวบรวมปัญหาฟันที่เข้าข่ายจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยTooth Filling มีดังต่อไปนี้

  • ฟันผุ : ไม่ว่าจะเป็นฟันผุรูเล็ก รูใหญ่ ก็ต้องได้รับการรักษาโดยการอุดฟันทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าฟันซี่ที่ผุจะยังไม่มีอาการปวด หรือ เสียวฟัน เนื่องจากหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ฟันผุอาจขยายขนาดกว้างและลึกขึ้น จนถึงโพรงประสาทฟันได้
  • ฟันแตก : กรณีไปกัดหรือเคี้ยวของแข็ง จนทำให้เนื้อฟันแตกหัก สมควรจะได้รับการซ่อมแซมฟันโดยการอุดฟัน เนื่องจากหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาจุดที่เนื้อฟันแตกหักจะกลายเป็นที่สะสมของเศษอาหารและทำความสะอาดได้ยาก ส่งผลให้เกิดฟันผุในจุดที่ฟันแตกหัก ซึ่งฟันผุในจุดทีทำความสะอาดยากเช่นนี้มีโอกาสลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟันได้ง่ายมาก
  • ฟันบิ่น ฟันแตกหัก : กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือมีการพลัดตกหกล้มจนฟันมีการบิ่นหรือแตกหักไป สมควรได้รับการอุดฟันหน้าเพื่อเสริมให้เนื้อฟันกลับมาเต็มซี่ เนื่องจากเหตุผลทั้งในแง่ความสวยงาม การป้องกันไม่ให้เกิดการเสียวฟัน รวมถึงป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียแทรกซึมจากเนื้อฟันที่แตกจนเข้าสู่โพรงประสาทฟัน อาจทำให้เกิดรากฟันอักเสบได้
  • ฟันสึก หรือคอฟันสึก : อาจเกิดจากการแปรงฟันที่รุนแรง รวมถึงใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบ ทำให้ผิวฟันบริเวณคอฟันเกิดสึกกร่อนไป สมควรได้รับการอุดฟันเนื่องจากหาไม่อุดจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ และเนื้อฟันสึกมากขึ้นจนมีโอกาสทะลุโพรงประสาทฟันได้

อุดฟันกับ TDH Dental รักษาฟันให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

ก่อนเข้ารับการรักษาควรตรวจสอบประวัติคลินิกด้วยการดูข้อมูลรีวิวจากผู้ใช้บริการ จริง พร้อมตรวจสอบเอกสารใบอนุญาตที่แสดงไว้ในส่วนต้อนรับของคลินิกหรือโรงพยาบาล รวมถึงตรวจสอบประวัติของทันตแพทย์จากเว็บไซต์ของทันตแพทย์สภา เพื่อจะได้มีความมั่นใจว่ามีทีมทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทาง มีใบประกอบวิชาชีพจริง

เพราะคลินิกทันตกรรมโดยทั่วไปสามารถให้บริการการรักษาอุดฟันได้ แต่หากทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่าโรคมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนในการรักษา ผู้ป่วยอาจถูกส่งต่อไปยังทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการอุดฟันหรือทันตกรรมหัตถการ ทั้งนี้หากตัวผู้ป่วยต้องการได้รับการบริการรักษาอุดฟันจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ สามารถปรึกษาขอคำแนะนำฟรีได้ที่ Thonglor Dental

Thonglor Dental คลินิกทันกรรมที่ได้รับมาตรฐาน ISO9001:2015 ให้บริการทุกสาขาด้านทันตกรรม ทันตแพทย์มากประสบการณ์และทีมงานมืออาชีพ เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัย พร้อมดูแลท่านเป็นอย่างดี ให้การรักษาแก่คนไข้มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก เป็นที่ไว้วางใจจากดารานักแสดงชั้นนำมากมาย

TDH Dental เป็นผู้นำด้านการรักษาและบริการทันตกรรมครบวงจร คุณภาพสูง ระดับมาตรฐานสากลที่เติบโตอย่างยั่งยืน มุ่งมั่นพัฒนา และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และพร้อมส่งมอบคุณค่าและความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้รับบริการ

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy