โรคปริทันต์ หรือ โรคปริทันต์อักเสบ หรือที่เรียกกันว่า รำมะนาด คือโรคที่อวัยวะรอบ ๆ ฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดฟัน กระดูกเบ้าฟัน ผิวรากฟัน เกิดการติดเชื้อและอักเสบ สาเหตุของโรคปริทันต์ คือการสะสมของคราบจุลินทรีย์ มาจากเชื้อโรคที่ปะปนในน้ำลายจะเป็นเมือกใส และต่อมากลายเป็นคราบสีขาวอ่อนนุ่ม
อาการระยะแรก ๆ มักยังไม่มีอาการบ่งชี้ จนเมื่อโรคดำเนินไปสักระยะจึงเริ่มเห็นว่ามีเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หากรุนแรง กระดูกรองรับฟันจะถูกทำลายลงทำให้เหงือกร่นได้
สาเหตุของโรคปริทันต์ เกิดจากอะไร
โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื่อ เอ็นยึดปริทันต์ และ กระดูกที่อยู่รอบ ๆ สาเหตุของโรคปริทันต์ เกิดขึ้นหากไม่รักษาปัญหาเหงือกอักเสบ มีสาเหตุมาจากการสะสมของคราบพลัคที่ด้านบนและด้านล่างแนวเหงือก ซึ่งอาจทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟันได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถคืนสภาพเดิมได้
ความเสียหายของเนื้อเยื่ออาจทำให้เหงือกแยกออกจากฟัน เกิดช่องว่างหรือร่องขนาดเล็กที่เป็นที่สะสมคราบพลัคทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้ฟันโยกคลอนได้
ระยะของโรคปริทันต์
- ระยะที่ 1 เหงือกจะมีลักษณะบวม แดง พบว่ามีเลือดออกบริเวณคอฟัน หรือพบว่ามีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน และกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ
- ระยะที่ 2 ถึงขั้นโรคปริทันต์อักเสบระยะต้น ระยะที่เริ่มมีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน
- ระยะที่ 3 ถึงขั้นโรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก
- ระยะที่ 4 ถึงขั้นโรคปริทันต์อักเสบระยะปลาย ทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วม อาจต้องถอนฟัน
- ระยะที่ 5 ถึงขั้นสุดท้าย มีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน ทำให้เห็นว่าฟันจะโยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ ขั้นนี้แพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก
อาการของโรคปริทันต์
- ระยะแรกอาจจะยังไม่มีอาการ หรือ แสดงให้เห็นชัดเจนเหมือนโรคฟันผุ จนมีอาการต่อไปนี้คือ
- มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน ขณะรับประทานผลไม้ ของแข็ง ๆ
- เหงือกมีลักษณะบวมแดงเล็กน้อยถึงปานกลาง
- มีกลิ่นปาก ซึ่งอาจเกิดจากแผลในปาก
- มีอาการเสียวฟัน
- เคี้ยวอาหารลำบาก ปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร
การรักษาโรคปริทันต์
การรักษาโรคปริทันต์แบบไม่ต้องผ่าตัด
- การขูดหินปูน Scaling เป็นการขูดคราบสกปรกที่อยู่ตามร่องเหงือกและใต้เหงือก ลึกประมาณ 3 มิลลิเมตร ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
- การเกลารากฟัน Root Planning ขั้นตอนให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดติดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำหลายครั้งและควรทำโดยทันตแพทย์ที่ชำนาญ
การรักษาเสร็จแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์อยู่ หรือการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด
การรักษาโรคปริทันต์แบบต้องผ่าตัด
การผ่าตัด ทันตแพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นใยเหงือก เอ็นยึด และกระดูกเบ้าฟัน เช่นการเปิดเหงือกเพื่อการเกลารากฟัน หรือที่เรียกว่า ศัลย์ปริทันต์
การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ
ทันตแพทย์อาจนำนให้ใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ การรับประทาน เพื่อช่วยในการควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจะร่วมกับน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อได้
การดูแลช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และขูดหินปูน เพื่อป้องกันโรคปริทันต์
ในการดูแลช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ขูดหินปูนอย่างดี ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน จะช่วยป้องกันโรคฟันต่าง ๆ ได้ รวมถึงโรคปริทันต์ แต่หากท่านใดถึงขั้นโรคปริทันต์ระยะรุนแรงแล้ว สามารถเข้ารับการรักษาด้วยบริการปริทันต์วิทยาที่ TDH Dental ได้
ปริทันต์วิทยาที่ TDH Dental
ที่ TDH Dental มีบริการที่ครอบคลุมในด้านปริทันตวิทยา หรือที่เราเรียกว่า โรคเหงือก ซึ่งเป็นการอักเสบ หรือ การติดเชื้อของเนื้อเยื่อปริทันต์ เหงือก กระดูกรอบฟัน และเอ็นยึดปริทันต์ ทั้งหมดเป็นเนื้อเยื่อที่รองรับและค้ำจุนให้ฟันคงอยู่ได้ โดยมีระยะของโรคปริทันต์ 4 ระยะ คือ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบระยะต้น โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง โรคปริทันต์อักเสบระยะปลาย การรักษาโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มาพร้อมเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเครื่องสแกนฟัน 5 มิติรุ่นใหม่ล่าสุด iTero Element Plus Series, เครื่องสแกน CT Scan, เครื่อง X-ray Kodak 8000C หรือห้อง Digital Data Studio.
TDH Dental มีบริการด้านทันตกรรมเพื่อความสวยงาม ทันตกรรมทั่วไป ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมจัดฟัน การจัดฟัน Invisalign การจัดฟัน Brava by Brius ปริทันตวิทยา ขูดหินปูน ศัลยกรรมขากรรไกร การทำสะพานฟัน รากฟันเทียม หากท่านใดสนใจทันตกรรมทุกด้าน สามารถขอคำแนะนำกับทีมทันตแพทย์ได้ที่ TDH Dental หรือเข้ามาแวะชมรายละเอียดการทันตกรรมของเราก่อนที่เว็บไซต์ ตลอด 24 ชั่วโมง