สำหรับใครที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับฟันขั้นรุนแรงจนต้องใส่รากฟันเทียม หรือใครก็ตามที่เพิ่งจะใส่รากฟันเทียมเป็นครั้งแรก รู้หรือเปล่าครับว่าเราต้องดูแลรากฟันเทียมของเรายังไง ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง เพราะการรักษารากฟันเทียมนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ถ้าหากว่าเราไม่ระวัง ไม่ดูแลเอาใจใส่ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ อาจจะนำมาซึ่งปัญหาในอนาคตได้ วันนี้เราจะมาบอกถึง 5 สาเหตุหลักที่ทำให้รากฟันเทียมเกิดการอักเสบจนช่องปากติดเชื้อรุนแรง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ป้องกันได้อย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้รากฟันเทียมที่เพิ่งทำมาได้รับความเสียหาย
การใส่รากฟันเทียม คืออะไร
การใส่รากฟันเทียม คือ การรักษาฟันโดยการใส่วัสดุทดแทนฟันธรรมชาติที่ผุไปเนื่องจากโรคเหงือก การดูแลรักษาฟันที่ไม่ดี หรืออุบัติเหตุ โดยการใช้วัสดุประเภทไทเทเนียมที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ทำการผ่าตัดใส่เข้าไปทดแทนรากฟันที่เสียไปโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก TDH Dental โดยรากฟันเทียมนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อผู้รักษาเป็นรายบุคคล เพราะว่าลักษณะโครงสร้าง และสีของฟันแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน การใช้ไทเทเนียมมาทำเป็นรากฟันเทียมทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารได้เหมือนกันฟันธรรมชาติ ทำให้ผู้ที่ทำรากฟันเทียมไม่ต้องคอยกังวลเวลาที่กินอาหาร ช่วยในการออกเสียงเวลาที่พูดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นใจเวลาที่อยู่ต่อหน้าผู้อื่นได้อีกด้วย สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหารเมื่อใส่รากฟันเทียม บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับรากฟันเทียมมากขึ้น
ส่วนประกอบของรากเทียม
- ส่วนที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant body or fixture) เป็นส่วนที่มีลักษณะคล้ายสกรู หรือน๊อต และซึ่งจะถูกยึดเข้าไปในกระดูกขากรรไกรของผู้รักษา ทำหน้าที่ช่วยในการเชื่อมต่อกับกระดูกกราม เป็นเสมือนรากฟันธรรมชาติ
- ส่วนยึดต่อระหว่างส่วนที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant abutment) ส่วนยึดต่อกับ Prosthetic component ที่ TDH Dental จะใช้วัสดุที่ทำจากวัสดุไททาเนียม หรือเซรามิค เพื่อความปลอดภัยในการทำฟัน ทำหน้าที่เหมือนส่วนของตัวฟัน
- ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic component) คือ ส่วนของฟันเทียม ที่ใช้ยึดกับอะบัตเมนท์ด้วยกาวทางทันตกรรม หรือสกรูในการทำครอบสะพานฟัน หรือฟันเทียมที่สามารถถอดได้
สาเหตุที่ทำให้รากฟันเทียมอักเสบ
1. การติดเชื้อ และการรักษาที่ไม่ดีหลังผ่าตัดใส่รากฟันเทียม
การใส่รากฟันเทียมเป็นการรักษาทางทันตกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ทันตแพทย์จะต้องปฏิบัติตามเทคนิคการผ่าตัดแบบปลอดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อาจจะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนกว่าที่อาการอักเสบ เป็นหนองจะแสดงออกมา ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองหลังจากการผ่าตัดด้วย โดยเฉพาะคนไข้ที่นิยมกินอาการรสจัดอยู่เป็นประจำ หรือสูบบุหรี่หลังจากการผ่าตัด เป็นต้น
2. เทคนิคผ่าตัดที่ไม่ดี
ทันตแพทย์ที่จะมาทำการผ่าตัดให้กับเราจะต้องเป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะต้องทราบกระบวนการเชื่อมประสานกระดูก (การยึดรากฟันเทียมกับกระดูกกราม) และต้องชำนาญเทคนิคการผ่าตัดแบบปลอดเชื้อที่ถูกวิธี ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือกว่าจะไปเข้ารับการรักษาปัญหารากฟันที่ไหน เราจะต้องคำนึกถึงความน่าเชื่อถือ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้รักษา อาจจะต้องถึงขั้นขอดูใบประกอบวิชาชีพทันตแพทย์กันเลย ควรที่จะเลือกคลินิกใกล้บ้าน เพราะหากมีเหตุอะไรเกิดขึ้นจะได้เข้าไปพบแพทย์ได้ง่าย
3. Micromovement ของการทำรากฟันเทียม
ในการผ่าตัดรักษารากฟันหลังจากที่ใส่ส่วนที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant body or fixture) ลงไปเรียบร้อยแล้ว ชิ้นส่วนนี้จะต้องยึดติดอยู่กับกระดูกกรามนิ่งๆ ไประยะหนึ่ง เป็นระยะที่นานพอที่จะทำให้การรวมตัวของกระดูกเกิดขึ้นได้สำเร็จ อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 16-17 สัปดาห์ ถ้าหากในช่วง 8-12 สัปดาห์แรกเกิดการกระทบกระเทือนของรากฟันเทียมที่เพิ่งใส่เข้ามา อาจจะทำให้ไม่มั่นคง ดังนั้นหลังจจากที่ใส่รากฟันเทียมเข้ามาแล้วจะต้องเว้นระยะเวลาก่อนที่จะทำการใส่ครอบฟันเข้าไปบนรากฟันเทียม
4. กระดูกไม่เพียงพอ
ปัญหากระดูกไม่เพียงพอ และเข้ารับการรักษาทันตกรรมด้วยการใส่รากฟันเทียมโดยที่ยังไม่มีการแก้ปัญหานี้ โอกาสที่การรักษาด้วยรากฟันเทียมจะล้มเหลวมีสูงมาก เนื่องจากปริมาณของกระดูกไม่เพียงพอที่จะทำการฝังรากฟันเทียม จำเป็นที่จะต้องมีการปลูกถ่ายกระดูกกันก่อน ซึ่งทันตแพทย์ที่เราเข้าไปทำการรักษา หากเจอกับปัญหานี้จะต้องแจ้งเราก่อน และขั้นตอนการรักษาจะต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
5. ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
นี่คือหนึ่งในสาเหตุของการอักเสบจนติดเชื้อรุนแรงในการรักษารากฟันเทียมที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยปกติทันตแพทย์จะให้คำแนะนำหลังจากที่ทำการผ่าตัดรากฟันเทียมอยู่แล้ว แต่ส่วนมากคนไข้มักที่จะละเลยการดูแลตัวเองในส่วนนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นการยกของหนักจากหน้าที่การงานที่จำเป็นต้องทำ การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ยิ่งเป็นเรื่องการงดอาหารรสจัดยิ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะพื้นเพของคนไข้บางรายมีการรับประทานอาหารประเภทส้มตำอยู่เป็นประจำทุกวัน การละเลยสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหา และเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการอักเสบจนติดเชื้อรุนแรงได้ทั้งสิ้น
การรักษารากฟันเทียมเป็นการรักษาเพื่อใส่รากฟันเทียมเข้าไปแทนที่ฟันธรรมชาติที่ผุมากจนจำเป็นต้องถอนฟัน ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ต้องทำการผ่าตัดแบบปลอดเชื้อ ซึ่งที่ TDH Dental ก็มีทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำการรักษารากฟันได้อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการอักเสบจนติดเชื้อรุนแรงได้ วัสดุที่ใช้สำหรับการรักษารากฟันก็เป็นวัสดุที่สะอาดได้มาตรฐาน ปลอดภัยสำหรับการใช้ยิดติดกับร่างกายมนุษย์ในระยะยาว หากดูแลรักษาอย่างถูกวิธี รากฟันเทียมจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 30-40 ปี ได้เลย หากคุณสนใจทำรากฟันเทียมกับ TDH Dental สามารถเข้ามาสอบถามการรักษาได้ที่คลินิก TDH ทุกสาขา