ฟันเหยินในเด็ก

How to การดูแลฟันเพื่อป้องกันการเกิดฟันเหยินในเด็ก

การดูแลฟันที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กฟันเหยิน ซึ่งก็จะส่งผลเสียทั้งต่อรูปลักษณ์ความมั่นใจ การทำความสะอาด การพูด การบดเคี้ยวอาหาร รวมถึงโครงสร้างใบหน้าในตอนโตได้ วันนี้ทาง TDH เลยจะมาแนะนำวิธีการดูแลฟันเพื่อป้องกันการเกิดฟันเหยิน ฟันซ้อนเก ในเด็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่นำเทคนิคไปปรับใช้ ลูกๆ จะได้มีฟันที่เรียงสวย และมีใบหน้าที่สมบูรณ์แบบนั่นเอง

สาเหตุของฟันเก ฟันเหยินในเด็ก

การเกิดฟันเหยินและฟันซ้อนเกในเด็กนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น

  • พันธุกรรม หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีโครงสร้างฟันยื่นหรือเหยิน ก็มีโอกาสที่เด็กจะมีฟันเหยิน ได้เช่นเดียวกัน
  • ฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด หากปล่อยให้เด็กมีฟันผุตั้งแต่เล็ก จนฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนดและเกิดช่องว่างระหว่างฟัน ก็มีความเสี่ยงที่ฟันแท้จะขึ้นมาซ้อนเก ผิดตำแหน่ง และส่งผลให้เด็กฟันเหยินได้
  • การดูดขวดนม ดูดจุกนมเป็นเวลานาน เนื่องจากในการดูดจุก เด็กจะต้องใช้ลิ้นดุนฟันหน้าตลอดเวลาเพื่อช่วยในการดูดและกลืนนม ซึ่งอาจทำให้ฟันบนด้านหน้ายื่นออกมาและฟันล่างหุบเข้าไป จนกลายเป็นฟันเหยินได้
  • พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ เช่น ชอบดูดนิ้ว ชอบกัดฟันเล่น หรือกัดฟันเวลานอน ก็อาจเป็นสาเหตุของฟันซ้อนเกได้เช่นกัน
ป้องกันฟันเหยินในเด็ก

วิธีป้องกันฟันเหยินในเด็ก เพื่อฟันแท้ที่เรียงตัวสวยงาม

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันการเกิดฟันเหยินเพื่อปรับโครงหน้าเด็กตั้งแต่เล็กได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

1. ดูแลช่องปากให้สะอาด

พ่อแม่ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่หนูน้อยมีฟันขึ้นซี่แรก โดยใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนอ่อนนุ่ม กับยาสีฟันเด็กที่ผสมฟลูออไรด์ หลังจากเด็กสามารถแปรงฟันได้เอง พ่อแม่ก็ควรสอนลูกดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี และคอยตรวจเช็คทุกครั้งว่าลูกแปรงฟันได้สะอาดหรือไม่

2. หลีกเลี่ยงการกินของหวานมากเกินไป

การกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ลูกอม หรือช็อกโกแลต ในปริมาณที่เยอะและบ่อยเกินไป อาจทำให้เด็กมีฟันผุและฟันน้ำนมหลุดเร็วกว่ากำหนดได้ พ่อแม่จึงควรควบคุมไม่ให้ลูกกินขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลบ่อยๆ และควรบ้วนปากทุกครั้งหลังกินอาหารเหล่านี้ด้วย

3. ฝึกให้ลูกดื่มนมจากแก้วหลังอายุ 6 เดือน

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดขวดนมจนเลิกยาก พ่อแม่ควรเริ่มฝึกให้ลูกดื่มนมจากแก้วแทนตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกิน 1 ปี และหลังจากลูกอายุ 1 ขวบครึ่ง ก็ควรเลิกขวดนมให้ได้ 100% โดยในระหว่างที่ลูกยังดูดนมจากขวดอยู่ หลังกินนมเสร็จแล้วพ่อแม่ควรเก็บขวดนมทันที ไม่ควรปล่อยให้ลูกถือและดูดขวดอยู่ตลอดเวลา

4. เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ

อย่างเช่น การกัดฟัน กัดของเล่น หรือการดูดนิ้ว ไม่ควรปล่อยให้เด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้จนถึงอายุ 4 ขวบ เพราะเด็กจะเลิกได้ยาก รวมถึงโครงสร้างฟันก็จะผิดปกติมากขึ้นจนแก้ไขได้ยากด้วย โดยพ่อแม่อาจใช้วิธีหาของเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ มาเบี่ยงเบนความสนใจเด็กแทน

5. พาลูกมาพบทันตแพทย์เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้น

พ่อแม่สามารถพาลูกน้อยมาพบทันตแพทย์ได้ทันทีที่ฟันน้ำนมซี่แรกโผล่พ้นเหงือก โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกฟันผุ หรือมีปัญหาในช่องปากก่อน รวมถึงควรพาเด็กมาพบคุณหมอเป็นประจำทุกๆ 6 - 12 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างต่อเนื่อง

ควรพาลูกมาพบทันตแพทย์ตอนอายุเท่าไหร่ ?

ผู้ปกครองควรพาเด็กๆ มาพบทันตแพทย์ตั้งแต่วัย 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้น หรืออย่างช้าไม่ควรเกิน 1 ปี เพื่อให้คุณหมอช่วยตรวจดูสุขภาพช่องปาก แนะนำวิธีการดูแลฟันที่ถูกต้อง และอาจทำการเคลือบฟลูออไรด์ฟันเพื่อป้องกันฟันผุในอนาคตด้วย

โดย TDH Kids ของเรา เป็นศูนย์ทันตกรรมสำหรับเด็ก ที่มีคุณหมอฟันเด็กเฉพาะทางพร้อมให้บริการดูแลช่องปากและฟันสำหรับน้องๆ อายุไม่เกิน 12 ปีโดยเฉพาะ ซึ่งบริการของเรามีตั้งแต่การตรวจสุขภาพฟันในเด็ก การอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน Fluoride Varnish การครอบฟัน การรักษารากฟันเด็ก ไปจนถึงการจัดฟันใสเด็ก และการจัดฟันข้างใน เพื่อแก้ไขการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถวางใจได้ทั้งในเรื่องความปลอดภัย และประสบการณ์ที่ดีในการมาพบหมอฟันครั้งแรกของลูก

สนใจให้ TDH Kids ดูแลฟันให้ลูกน้อยของคุณ สามารถติดต่อได้ที่ TDH Kids สาขาปุณณวิถี หรือโทร 02-744-7114 and, 089-744-7114

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy