วัสดุที่อุดฟันหลุดทำไงดี

วัสดุที่อุดฟันหลุดทำไงดี ปัญหาในช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคงเคยเจอปัญหาวัสดุอุดฟันหลุดกันมาแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กๆ การวัสดุอุดฟันหลุดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากวัสดุในการอุดฟันแต่ละชนิดนั้นมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่สามารถทนต่อแรงขบกัดที่รุนแรงได้ ส่งผลให้วัสดุอุดฟันหลุด ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย แต่บางคนก็มาพร้อมอาการมากมาย เมื่อเกิดปัญหาวัสดุอุดฟันหลุด เราควรที่จะให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มแรก และหลายคนคงสงสัยว่าหากปล่อยไว้จะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้วัสดุอุดฟันหลุด

วัสดุอุดฟันที่ใช้ทั่วไปจะมีความแข็งแรงประมาณหนึ่ง แต่หากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้คุณภาพเสื่อมได้ ไปดูกันว่าสาเหตุทั่วไปของที่อุดฟันหลุดอะไรบ้าง

  1. การเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป เมื่อออกแรงเคี้ยวอาหารที่แข็งมากหรือเหนียวมาก จึงกระทบกับวัสดุที่อุดไว้ จนทำให้ที่อุดฟันหลุดหรือแตกออกมาได้ง่าย
  2. ละเลยการทำความสะอาดช่องปากและฟัน การทำความสะอาดช่องปากและฟันที่ไม่ถูกวิธี วัสดุอุดฟันก็จะมีโอกาสเสื่อมเร็วกว่าปกติ และทำให้หลุดออกมา ทันตแพทย์จึงแนะนำควรแปรงฟันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3-4 เดือน การใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยก็ช่วยเรื่องความสะอาดได้เช่นกัน
  3. การเสื่อมสภาพของวัสดุอุดฟัน โดยวัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นาน 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพช่องปากของแต่ละคน จึงเป็นเหตุผลที่ต้องมั่นพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
สาเหตุวัสดุที่อุดฟันหลุด

หากปล่อยให้ที่อุดฟันหลุดจะเกิดอะไรขึ้น

หากวัสดุอุดฟันหลุดแล้วปล่อยทิ้งไว้ เศษวัสดุที่ติดค้างอยู่ตรงฟันจะทำให้เสียวฟันหรือปวดฟันได้ หรือการที่วัสดุหลุดไปแล้ว บริเวณนั้นก็จะกลายเป็นรู ทำให้เนื้อฟัน หรือโพรงประสาทฟันสัมผัสอาหารหรืออากาศโดยตรง จึงเป้นสาหตุของการปวดฟันหรือเสียวฟันได้เช่นกัน นอกจากนี้หากวัสดุอุดฟันหลุดไปแล้วส่วนที่เหลืออยู่มีความคม ก็อาจบาดลิ้นได้
แต่สำหรับบางคนอาจไม่มีอาการปวดฟันใดๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่อันตราย เพราะเมื่อวัสดุหลุดออกไปแล้ว ก็จะไม่มีอะไรมายับยั้งอาการผุของฟัน จึงอาจลุกลามไปถึงเนื้อฟันส่วนที่ดี ยิ่งถ้ามีเศษอาหารเข้าไปติด ก็จะยิ่งทำให้เกิดฟันผุลึกลงไปอีก

ควรทำอย่างไร เมื่อวัสดุอุดฟันหลุด

  1. ให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อกรอเอาวัสดุที่อาจติดค้างอยู่ออกให้หมด และทำการอุดฟันใหม่ หากไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันทีจริงๆ ก็ไม่ควรปล่อยไว้เกิน 3 วัน
  2. หากวัสดุอุดฟันหลุดให้กลับมาอุดใหม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเกิดฟันผุลุกลามจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  3. ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและช่องฟันทุก 6 เดือน
  4. บรรเทาอาการระหว่างรออุดฟันใหม่ หากมีอาการปวดฟัน เสียวฟัน สามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการ แต่มีข้อควรระวัง คือต้องตรวจสอบก่อนว่าไม่ได้แพ้ยาเหล่านี้
  5. หมั่นใช้ไหมขัดฟัน กำจัดเอาเศษอาหารที่เข้าไปติดฟันออก
  6. ระมัดระวังการเคี้ยวอาหาร เพื่อป้องกันวัสดุอุดฟันแตกหักเพิ่ม
  7. งดอาหารที่แข็ง เหนียว กรอบ เพราะการเคี้ยวอาหารแข็ง ยิ่งทำให้ปวดฟัน และอาหารหวานจัด เย็นจัด ร้อนจัด เพื่อเลี่ยงอาการเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้
  8. แปรงฟันอย่างถูกวิธี ให้สะอาด และบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

วิธีป้องกันวัสดุอุดฟันหลุดที่คุณหมอ TDH Dental แนะนำ

หากใครที่อุดฟันมาแล้ว หรือทำการอุดฟันใหม่หลังจากที่วัดสุอุดฟันหลุด การดูแลและป้องวัสดุอุดฟันหลุดก็วิธีปฏิบัติตัวเหมือนกับข้อปฏิบัติหลังอุดฟันปกติ นั่นคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือบดเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟัน อย่างน้อยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงแรก ไม่ควรรับประทานอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียวจัด เพราะจะทำให้วัสดุทีอุดหลุดหรือแตกหักได้ ในกรณีอาหารติดซอกฟัน ขอแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปลงซอกฟัน แทนการใช้ไม้จิ้มฟัน เพราะจะทำให้เหงือกอักเสบได้ และที่สำคัญควรตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก โดยทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

หากคุณกำลังประสบปัญหาวัสดุอุดฟันหลุดหรือต้องการอุดฟัน และมองหาคลินิกทำฟันที่ได้มาตรฐาน การอุดฟันที่คลินิกทันตกรรม TDH Dental ทุกการรักษาดำเนินการโดยทันตแพทย์ผู้มากประสบการณ์และอุปกรณ์ทันตกรรม รวมถึงวัสดุที่ใช้อุดฟันที่ได้มาตรฐานอย่างดี จึงช่วยลดอาการปวดฟันหลังอุดฟันใหม่อีกครั้ง และหมดปัญหาที่อุดฟันหลุด รวมทั้งยังดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ซึ่งหากผู้ใช้บริการพบว่ามีอาการปวดหลังจากทำการอุดฟัน สามารถทำนัดผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะส่งให้คุณหมอช่วยประเมินและนัดหมายต่อไป นับว่าดูแลตั้งแต่ยังไม่นัดหมายเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการคลายความกังวลและได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ด้วย

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy