เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปาก สำหรับคนที่ใส่สะพานฟัน

การทำสะพานฟัน คือ การทำฟันปลอมชนิดติดแน่นอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยหลักการของสะพานฟันก็คือ อาศัยฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเป็นหลักในการยึดติด ไม่สามารถถอดเข้าออกด้วยตัวเองได้ รูปร่างของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ไม่มีตะขอ ไม่มีแผ่นเหงือกปลอม การทำสะพานฟันจะทำในกรณีที่ฟันถูกถอนไป แต่ยังเหลือฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่แข็งแรงสามารถเป็นหลักยึดสะพานฟันได้ ดังนั้นการทำสะพานฟันจึงต้องมีวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้อง รวมทั้งยังมีวิธีการดูแลที่แตกต่างจากวิธีการดูแลสุขภาพปากและฟันปกติด้วย

ส่วนประกอบของสะพานฟัน

สะพานฟัน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนที่ยึดติดกับฟันธรรมชาติ คือ ฟันหลักยึดที่เป็นฟันข้างเคียงกับช่องว่าง โดยจะทำครอบฟันสวมลงไปที่ฟันหลักยึดและพ่วงต่อกับฟันที่เป็นสะพาน และเชื่อมเข้ากับฟันหลักยึดอีกข้างหนึ่งของช่องว่าง ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟันเป็นวัสดุชนิดเดียวกับการทำครอบฟัน เช่น เซรามิกล้วน โลหะล้วน หรือ แบบเซรามิกผสมโลหะ เป็นต้น
  2. ฟันลอย (Pontic) สะพานฟันซี่นี้จะลอยอยู่เหนือเหงือก เป็นตัวเชื่อมระหว่างหลักยึดฟันทั้ง 2 ซี่ ทำหน้าที่ทดแทนฟันที่ถูกถอนฟันไป สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้เหมือนฟันธรรมชาติ และเพิ่มความมั่นใจในการยิ้ม หรือการพูดได้มากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบทั่วไป

ครั้งที่ 1 การวางแผนการรักษา และการพิมพ์ฟัน

  1. วางแผนการรักษา รวมถึงการเลือกสีและวัสดุของสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ร่วมกันคนไข้
  2. ทันตแพทย์การฉีดยาชา และกรอฟันซี่ที่จะใช้ยึดเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
  3. ยึดติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างการรอสะพานฟันตัวจริง ประมาณ 5-7 วัน

ครั้งที่ 2 การใส่สะพานฟัน

  1. เมื่อได้สะพานฟันตัวจริงจากแลปทันตกรรมแล้ว ทันตแพทย์จะรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
  2. ใส่สะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุดซึ่งสะพานฟันตัวจริงนี้จะมีความแข็งแรง และสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
  3. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน และจะนัดมาตรวจเซ็กหลังจากใช้งานไปแล้ว 7-14 วัน ซึ่งหากมีปัญหาการใช้งานจะได้แก้ไขให้คนไข้ได้

การดูแลช่องปากหลังทำสะพานฟัน

  1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  2. ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง โดยใช้ไหมขัดฟันระหว่างซี่ฟันทั้งด้านซ้ายและด้านขวาและบริเวณข้างใต้สะพานฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารหรือคราบพลัคที่ติดตามซอกฟัน
  3. บ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  4. ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณสะพานฟัน
  5. ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

ข้อปฏิบัติหลังทำสะพานฟัน

การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง หลังทำสะพานฟันควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการใส่สะพานฟัน
  2. ท่านสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวม หรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
  3. ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
  4. อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตน ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน หรือเย็นจัด หรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
  • การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
  • ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
  • ควรทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี

8 ข้อดีของสะพานฟัน

  1. ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้ม หัวเราะ พูดคุย ได้เหมือนฟันธรรมชาติ
  2. ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
  3. ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
  4. ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป และยังช่วยป้องกันฟันล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  5. ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
  6. ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
  7. ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
  8. ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันหลังทำสะพานฟันด้วยการแปรงฟันและพบทันตแพทย์เป็นประจำ ถือว่าเป็นวิธีการดูแลเฉพาะเพื่อช่วยให้การทำสะพานฟันอยู่ได้ยาวนาน และยังเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี โดยการทำสะพานฟันที่คลินิกทันตกรรม TDH จะดำเนินการโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งยังให้คำปรึกษาและแนะนำทุกขั้นตอนของการดูแลตัวเองหลังทำสะพานฟันด้วย