5 สาเหตุของการถอนฟัน และวิธีปฏิบัติทั้งก่อนและหลังถอนฟัน

การถอนฟัน เป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพฟัน ไม่ว่าจะฟันผุ โรคเหงือก มีหนอง เพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้และมีรอยยิ้มที่สวยงาม บางครั้งอาจมีปัญหาสุขภาพฟันทำให้มีความจำเป็นต้องถอนฟัน หลายคนกลับกลัวการถอนฟันเนื่องจากจะทำให้เกิดการเจ็บปวดและมีแผลในช่องปาก เรามาดูสาเหตุของการถอนฟันกัน พร้อมการเตรียมตัวก่อนถอนฟัน รวมถึงจะไปถอนฟันที่ไหนดีที่ได้มาตรฐาน

สาเหตุที่ต้องถอนฟัน มีอะไรบ้าง

การถอนฟันที่ถูกขั้นตอนและปลอดภัยต้องให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาเท่านั้น เพื่อวางแผนการรักษา เพราะการถอนฟัน คือ การสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากฟันผุมากจนไม่สามารถแก้ไข ซึ่งสาเหตุที่ต้องถอนฟันเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. ฟันผุ

เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมกันจนเป็นคราบเหนียวที่เราเรียกว่า คราบฟัน คราบจุลินทรีย์ หรือคราบแบคทีเรีย จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นบนฟันของคุณ และเจริญเติบโตด้วยน้ำตาลในอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทานเข้าไป และจะเกาะอยู่บนผิวของฟัน แบคทีเรียเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรด มีฤทธิ์ทำลายแร่ธาตุที่ผิวฟัน จนก่อให้เกิดเป็นรู เริ่มจากขนาดเล็กมาก ๆ ลุกลามใหญ่ขึ้น โดยอาการของฟันที่เนื้อฟันจะถูกทำลายลงไป เป็นการทำลายตั้งแต่ผิวฟันลึกลงไปยังเนื้อเยื่อจนถึงโพรงที่ตัวฟัน และแน่นอนหากไม่ได้รับการรักษาจะลุกลาม ขยายใหญ่และลึกขึ้น เมื่อถึงเวลาจะเกิดความเจ็บปวดและต้องสูญเสียฟันไป

2. ถอนฟันร่วมกับการจัดฟัน

ผู้ที่กำลังจะถอนฟันร่วมกับการจัดฟันมีช่องว่างในการจัดฟันจัดเรียงตัวของฟันใหม่ ทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาว่าจะต้องถอนฟันซี่ไหนบ้าง จำนวนกี่ซี่ ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของผู้ที่จะจัดฟัน รวมถึงการถอนฟันซี่สุดท้ายหรือฟันคุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการดันฟันซี่ข้างเคียง และ การเรียงตัวของฟันในอนาคต

3. ปัญหาโรคเหงือก

โรคเหงือกเป็นปัญหาในช่องปากที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาการอักเสบของเหงือกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บนตัวฟัน เมื่อแปรงฟันไม่สะอาด จะเกิดการสะสมเป็นคราบของแบคทีเรียหรือที่เรารู้จักดีก็คือ คราบหินปูน คราบพลัค ที่ก่อตัวขึ้นทั้งบนฟันและช่องว่างระหว่างซี่ฟัน เกิดอาการบวม ระคายเคืองของเหงือก หากไม่รักษาอาจทำให้ลุกลามติดเชื้อไปยังกระดูกที่ยึดกับฟัน หรืออาจต้องถอนฟันออกด้วยเช่นกัน 

4. มีถุงน้ำหรือหนองที่ปลายรากฟัน

กรณีมีถุงน้ำหรือหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งเกิดจากมีเชื้อแบคทีเรียลงไปที่โพรงประสาทฟันถึงปลายรากฟันที่อยู่ลึกสุด ทำให้มีหนองที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร จะมีอาการบวม ปวด หากไม่รีบรักษาอาจจะทำให้ลุกลามไปฟันซี่อื่นได้ รวมถึงอาจทำลายกระดูกบริเวณปลายรากฟันได้เช่นกัน

5. อุบัติเหตุ

การเกิดอุบัติเหตุบริเวณฟัน เช่นฟันโดนกระแทกอย่างรุนแรง ฟันหักเนื้อฟันเหลือน้อยเกินไป ไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟันหรือครอบฟันได้ ฟันร้าวถึงรากฟัน ลักษณะการเกิดปัญหาฟันเหล่านี้มีความจำเป็นต้องถอนฟัน

ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนถอนฟัน

การถอนฟันมีความปลอดภัยสูง แต่ก็อาจเสี่ยงกับเชื้อแบคทีเรียจำนวนมหาศาลในปากจะแพร่เข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด และอาจมีเนื้อเยื่อของเหงือกที่อาจติดเชื้อได้เช่นกัน คนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนและหลังถอนฟัน ดังนั้นก่อนการถอนฟันจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างนั้น มีรายละเอียดดังนี้

  1. ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบถึงประวัติการรักษาของตนเอง ยาและอาหารเสริมที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงอาการป่วยหรือเคยได้รับการรักษาตามข้อมูล ต่อไปนี้
    • ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียม
    • เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    • กรณีเป็นโรคตับ
    • เคยผ่าตัดใส่ข้อเทียม
    • มีประวัติเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
  2. รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ควรมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีสัญญาณชีพปกติ
  4. ผู้รับบริการจะต้องได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้งในวันที่เข้ารับการรักษา ซึ่งผู้รับบริการควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เช่นโรคประจำตัว การหยุดไหลของเลือด และการแพ้ยา
  5. ผู้ที่มารักษาโดยการผ่าตัดทุกชนิด ควรรับประทานอาหารก่อนการรักษา 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากภายหลังผ่าตัดต้องกัดผ้าก๊อซนาน 2 ชั่วโมงเพื่อให้เลือดหยุดไหล รวมถึงงดรับประทานน้ำและอาหารจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  6. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ การตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเสมอ เพราะบางกรณีการรักษาต้องดูว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง ทันตแพทย์จะได้ประเมินแผนการรักษาในเบื้องต้นได้
  7. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง เช่นลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ผู้ที่เป็นหลอดเลือดดำอุดตัน จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้เตรียมให้
  8. ผู้ป่วยเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาให้ห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อป้องกันการอาเจียน
  9. ผู้ที่วิตกกังวลสูง หรือผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา แพทย์อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
  10. กรณีมารักษาทางด้านจัดฟัน ให้นำเครื่องมือจัดฟันมาด้วยทุกครั้ง

วิธีดูแลตัวเองหลังจากถอนฟัน

หลังจากถอนฟันเสร็จเรียบร้อย คุณอาจไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวแบบไหนหลังจากที่ถอนฟันเสร็จ วันนี้เรามีคำแนะนำสำหรับคนที่ต้องไปถอนฟันที่คลินิก เพื่อช่วยแนะนำว่าคุณต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยมีรายละเอียดหลายอย่างที่ควรรู้ไว้ ดังนี้

  1. หลังการถอนฟัน ทันตแพทย์จะใช้ผ้าก็อชวางบริเวณแผลที่ถอนฟันเพื่อทำการห้ามเลือด คนไข้ต้องกัดผ้าก็อชไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ห้ามบ้วนเลือด หรือน้ำลายทิ้ง
  2. หากผ้าก๊อซชุ่มเลือด สามารถคายออกแล้วเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ได้ แต่ไม่ควรที่จะเปลี่ยนผ้าก็อซบ่อย เพราะจะเป็นการรบกวนขบวนการแข็งตัวของเลือดได้
  3. ปฏิบัติตัวและทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  4. หากเลือดยังไม่หยุดไหล หรือมีเลือดซึมตลอดเวลา ให้กลับมาพบกับทันตแพทย์ทันที
  5. หลังการถอนฟันใหม่ ๆ ให้งดการออกกำลังกาย
  6. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารบริเวณตรงที่ถอนฟันไป และไม่ควรแปรงฟันบริเวณนั้น ระวังไม่ให้แปรงไปกระแทกแผลถอนฟัน
  7. หากภายใน 2-3 วัน ยังมีอาการปวดอยู่ควรจะไปพบทันตแทพย์เพื่อดูอาการ

ถอนฟันกับหมอฟันมากประสบการณ์ที่ TDH Dental

หากท่านใดกำลังต้องการถอนฟันที่ถูกต้องตามหลักอนามัย ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยสูง สามารถปรึกษาและพูดคุยกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ TDH Dental ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

TDH Dental หรือ Thonglor Dental Hospital คลินิกทันตกรรมที่ได้รับมาตรฐาน ISO9001:2015 ให้บริการทุกสาขาด้านทันตกรรม ทันตแพทย์มากประสบการณ์และทีมงานมืออาชีพ เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัย พร้อมดูแลท่านเป็นอย่างดี ให้การรักษาแก่คนไข้มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก เป็นที่ไว้วางใจจากดารานักแสดงชั้นนำมากมาย

TDH เป็นผู้นำด้านการรักษาและบริการทันตกรรมครบวงจรชั้นแนวหน้า การบริการระดับมาตรฐานสากล มุ่งมั่นพัฒนา และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความสามารถให้พร้อมสำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของคนไข้ทุกท่าน