การอุดฟันเด็ก ใช้วัสดุอุดฟันแบบไหน

การอุดฟันเด็ก ใช้วัสดุอุดฟันแบบไหนที่เหมาะกับช่องปากหนู ๆ ที่สุด

เมื่อลูกเกิดอาการฟันน้ำนมผุจนเป็นรู คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกสงสัยว่าควรพาลูกน้อยไปอุดฟัน หรือปล่อยทิ้งไว้ให้หลุดแล้วรอขึ้นใหม่ดี และถ้าไปอุดฟันควรเลือกวัสดุอุดฟันแบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็กๆ วันนี้ TDH Dental จะพาทุกท่านมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ลูกน้อยได้มีรอยยิ้มที่สดใสสมวัยทุกช่วงเวลา

วัสดุอุดฟันสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

  1. การอุดฟันด้วยอมัลกัม วัสดุนี้มีสีเข้ม จึงมองเห็นได้เด่นชัดกว่าพอร์ซเลนหรือคอมโพสิต และไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่นฟันหน้า
  2. การอุดฟันด้วยคอมโพสิต (พลาสติก) เรซิน เป็นวัสดุที่ใช้สีที่เหมือนกับฟันของคุณ จึงมักถูกเลือกใช้สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ
  3. การอุดฟันด้วยเซรามิก มีสีใกล้เคียงกับเนื้อฟัน ให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติ แต่มีความเปราะบางกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุคอมโพสิตเร
  4. การอุดฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ มักใช้อุดฟันเด็กเล็ก อุดฟันน้ำนม หรือเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เพราะสามารถปล่อยฟลูออไรด์ได้

คุณสมบัติของวัสดุอุดฟันแต่ละชนิด

1. วัสดุทำจากอมัลกัม (Amalgam)

คุณสมบัติที่โดดเด่นของวัสดุอุดฟันอมัลกัล มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี แข็งแรง สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี และมีราคาถูกกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน อย่างไรก็ตาม การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัลต้องเสียเนื้อฟันมากกว่า เพราะต้องใช้พื้นที่ในการรองรับวัสดุมากกว่า มีสีไม่เหมือนฟันตามธรรมชาติ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของเนื้อฟันรอบๆ ให้เป็นสีเทา และแม้ว่าจะมีโอกาสน้อย แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้สารปรอทที่ผสมอยู่ในวัสดุอมัลกัมได้

2. การอุดฟันด้วยคอมโพสิต (พลาสติก) เรซิน

การอุดฟันด้วยวัสดุคอมสิตสามารถเลือกวัสดุอุดฟันที่สีเหมือนฟันได้ ใช้อุดฟันได้หลากหลายสาเหตุ ทั้งฟันผุ ซ่อมแซมฟันที่บิ่นหรือแตกให้กลับมามีรูปร่างปกติ และสูญเสียเนื้อฟันน้อยกว่าการอุดด้วยวัสดุอุดโลหะ เพราะไม่จำเป็นต้องกรอฟันมากกว่าส่วนที่ผุเพื่อรองรับวัสดุ แต่เรซินคอมโพสิตมีอายุการใช้งานน้อยกว่าอะมัลกัม มีความแข็งแรงน้อยกว่า จึงมีโอกาสเสี่ยงในการแตกของวัสดุได้มากกว่า และมีวิธีการที่ซับซ้อนกว่า ทำให้มีราคาสูงกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม

3. การอุดฟันด้วยเซรามิก

อุดฟันด้วยเซรามิกดีกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุชนิดอื่นตรงที่ เป็นการอุดฟันที่มีการพิมพ์ปากเพื่อทำชิ้นงานเฉพาะบุคคล จึงเป็นการอุดฟันที่มีมาตรฐานสูง พอดีไม่ขาดไม่เกิน เพราะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย แม้เด็กบางคนจะมีพื้นที่ฟันผุขนาดใหญ่มากที่วัสดุอุดฟันอย่างอื่นเอาไม่อยู่แล้ว ก็ยังสามารถอุดฟันด้วยเซรามิกได้ และหมดกังวลปัญหาสีวัสดุอุดฟันเปลี่ยนไป เพราะอุดฟันด้วยเซรามิกไม่มีปัญหาเปลี่ยนสีตามสีอาหาร ไม่เหมือนวัสดุอุดฟันอื่นที่มีคราบสีอาหารเกาะได้ อุดฟันด้วยเซรามิกสามารถเลือกสีให้เข้ากับสีฟันของเด็กๆ ได้ แม้เห็นก็ไม่สะดุดตาว่าฟันมีการอุดมา นอกจากนี้การอุดฟันด้วยเซรามิกใช้แก้ปัญหาแทนการครอบฟันได้ ดีกว่าการอุดฟันอย่างอื่น เพราะเป็นการบูรณะฟันมากกว่าการอุดฟัน

4. การอุดฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์

ประกอบด้วยแก้วอะลูมิเนียมและกรดโพลิอะคริลิก วัสดุนี้มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพที่ดี การยึดเกาะสูง และการระคายเคืองต่ำ มันสามารถปล่อยฟลูออไรด์ไอออนอย่างช้าๆ และมีคุณสมบัติป้องกันฟันผุ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าลักษณะจะสวยงามและใกล้เคียงกับสีของฟันธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้ใสเหมือนฟัน สีไม่สวยงามเท่าวัสดุเรซิน และพื้นผิวจะอ่อนกว่าวัสดุคอมโพสิตและอมัลกัมสีเงิน และสวมใส่ได้ง่ายกว่านอกจากนี้ วัสดุแก้วไอโอโนเมอร์ยังมีแรงอัดต่ำและมีความแข็งต่ำ สึกหรอง่าย และไม่คงทน ไม่เหมาะสำหรับการซ่อมแซมฟันหลัง

 

หมอฟันเด็กแนะนำวัสดุอุดฟันแบบไหน

อ่านจบแล้วหาก พ่อๆ แม่ๆ ท่านใด ยังรู้สึกสงสัยหรือเป็นห่วงอาการฟันน้ำนมผุของเด็กๆ ว่าควรอุดฟันหรือไม่ และควรเลือกใช้วัสดุแบบใดในการอุดฟันเด็กดี คุณหมอจาก TDH Dental ขอแนะนำให้เลือกวัสดุการอุดฟันที่เหมาะสมกับฟันซี่ที่ผุ หากผุในส่วนของฟันกรามควรเลือกใช้วัสดุอมัลกัมที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการบดเคี้ยว หากฟันซี่ที่ผุคือฟันหน้าหรือซี่ที่ยิ้มแล้วเห็นได้ชัดควรเลือกวัสดุคอมโพสิตเรซิน หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีสีเหมือนเนื้อฟัน เพื่อความสวยงามเป็นธรรมชาติ และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถเข้าติดต่อสอบถามและขอคำปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากของลูก ๆ กับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กได้ที่ TDH Kids

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy