ป้องกันฟันน้ำนมเหลือง

ป้องกันฟันน้ำนมเหลืองให้ลูกด้วยวิธีดูแลช่องปากง่าย ๆ ทำที่บ้านได้

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลกับปัญหาลูกน้อยฟันเหลืองและจะทำอย่างไรให้ป้องกันฟันน้ำนมเหลืองได้ สำหรับพ่อแม่ที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ คุณมาถูกที่แล้ว! ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการดูแลช่องปากของลูกที่ง่าย ๆ และทำที่บ้านได้ เพื่อป้องกันฟันน้ำนมเหลืองให้ลูกเราอย่างดี พร้อมมีฟันที่แข็งแรง ห่างไกลฟันผุ

สาเหตุที่ทำให้ฟันน้ำนมเหลือง เกิดจากอะไร

  1. เกิดจากพันธุกรรม ไม่ว่าจะเป็นจากรุ่นพ่อแม่ หรือรุ่นปู่ย่าตายายที่มีฟันเหลืองมาก่อน
  2. ปัญหาฟัน เช่น ฟันผุที่เกิดจากการปล่อยให้ลูกหลับคาขวดนม หรือเนื้อฟันตาย
  3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำลายเคลือบฟัน เช่น น้ำอัดลม น้ำมะนาว หรือเครื่องดื่มที่มีสีเข้มติดฟัน เช่น ชา กาแฟ
  4. การปล่อยให้ลูกรับประทานขนมหรืออาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เช่น ลูกอม ขนมขบเคี้ยว
  5. เด็กป่วยเป็นโรคบางอย่างที่ติดเชื้อรุนแรงจนมีคราบเกาะติดฟัน เช่น โรคหัวใจ โรคตับอักเสบ โรคดีซ่าน
  6. การรับประทานยาหรือวิตามินที่มีผลต่อสีฟัน เช่น ธาตุเหล็ก
  7. การได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด ทั้งในรูปแบบของยาและน้ำดื่ม
  8. การทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ
ป้องกันฟันน้ำนมเหลือง

แนะนำวิธีการทำความสะอาดฟันให้ลูก

  • เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นจนอายุ 3 ขวบ พ่อแม่ควรแปรงฟันให้ลูกโดยใส่ยาสีฟันแค่พอเปียกขนแปรงท่านั้น และเช็ดฟองยาสีฟันออกหลังแปรงฟันด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด
  • เมื่ออายุ 3-6 ขวบ ใส่ยาสีฟันเท่าเมล็ดถั่วเขียว ให้ลูกแปรงฟันด้วยตนเองก่อน และพ่อแม่ช่วยแปรงฟันซ้ำอีกครั้ง
  • การเลือกแปรงสีฟันควรเลือกให้เหมาะสมในแต่ละวัย และให้เหมาะกับขนาดปากและฟันของลูก ขนต้องนุ่ม ที่จับต้องถนัดกับมือเด็กจะทำให้จับได้ถนัดมือ
  • เลือกยาสีฟันที่มีกลิ่นและรสผลไม้ที่เด็กๆ มักจะชอบ และควรเลือกยาสีฟันที่มีไซลิทอล หรือสารให้ความหวานจากธรรมชาติคุณภาพสูงที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ
  • เลือกยาสีฟันที่ไม่มีสารโซเดียม ลอรีล ซัลเฟต หรือ SLS เพื่อความปลอดภัยของลูกเรา
  • การเลือกยาสีฟัน ควรเลือกยาสีฟันสูตรปราศจากฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันการเผลอกลืนยาสีฟันโดยไม่ตั้งใจ โดยยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ในบางชนิดจะทดแทนด้วยแคลเซียม และฟอสเฟต ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุอย่างได้ผลเช่นเดียวกัน
  • ควรใช้ไหมขัดฟันก่อนแปรงฟัน เพื่อช่วยลดคราบอาหารที่ติดฟันและทำให้พลูออไรด์ในยาสีฟันเข้าสู่ผิวฟันได้ดีขึ้น
  • ควรพาเด็กพบทันตแพทย์เมื่ออายุ 2-3 ปี และนัดตรวจฟันทุก 6 เดือน

การป้องกันไม่ให้ฟันน้ำนมเหลือง

  • ในช่วงแรกเกิด : ช่วงแรกเกิดที่ลูกยังฟันไม่ขึ้น สามารถทำความสะอาดได้โดยใช้ผ้าสะอาดนุ่มๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกลูกเบาๆ หลังดูดนมเสร็จ เช็ดบริเวณกระพุ้งแก้มและลิ้นด้วย
  • ช่วงอายุ 6 เดือน : ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและให้เคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ หรือเมื่อฟันน้ำนมขึ้นแล้ว ควรใช้นิ้วพันผ้าถูทำความสะอาดที่บริเวณฟันของลูกให้สะอาดเช่นเดียวกับการทำความสะอาดเหงือก ในช่วงนี้ฟันของลูกยังเล็กอยู่ ทำให้การแปรงฟันโดยใช้แปรงสีฟันไม่สะดวกเมื่อเทียบกับการใช้ผ้าพันนิ้วของคุณแม่
  • ช่วงอายุ 1-3 ปี : ช่วงนี้เป็นช่วงที่ฟันของลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถเริ่มใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กได้แล้ว คุณแม่ควรเริ่มสอนลูกแปรงฟัน โดยลองแปรงฟันให้ลูกก่อน และฝึกให้ลูกรู้จักการบ้วนน้ำก่อนที่จะให้ลูกแปรงฟันด้วยตัวเอง เพราะหากลูกเผลอกลืนยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เข้าไปก็อาจส่งผลเสียกับฟันของลูกได้
  • ช่วงอายุเด็ก 3-4 ปี : ลูกเริ่มแปรงฟันเองได้แล้ว แต่ก็คงต้องคอยตรวจเช็คความสะอาดหลังแปรงฟันทุกครั้ง นอกจากนี้ควรพาลูกไปพบหมอฟันเป็นประจำเพื่อเช็คสุขภาพปากและฟัน รวมถึงรับคำแนะนำในการดูแล เพราะเด็กวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยว หรือบางกิจกรรมอาจทำให้มีปัญหาฟันได้ เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้น
  • ช่วงอายุเด็ก 6-12 ปีขึ้นไป : เป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นมาทดแทนแล้ว ทำให้ฟันน้ำนมจะเริ่มโยกและหลุดไปเอง แต่หากฟันแท้ขึ้นมาแล้ว แต่ฟันน้ำนมยังไม่ยอมหลุดนานเกิน 3 เดือน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือถอนฟันน้ำนมออกเพื่อฟันแท้จะได้ขึ้นได้อย่างเป็นระเบียบ

พ่อแม่คือต้นแบบที่ดีต่อสุขภาพปากและช่องฟันของลูกๆ ทั้งในเรื่องนิสัยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันร่วมกับลูก ๆ ซึ่งได้เรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมที่ดีเหล่านี้และทำตามอย่างว่าง่าย ดังนั้นการเป็นตัวอย่างที่ดีจะส่งผลต่อการสร้างลักษณะนิสัยที่ดี เพื่อสุขภาพช่องปากโดยรวมที่แข็งแรงจนถึงคุณภาพชีวิตที่สดใสต่อไปในอนาคตของลูก ๆ

หากไม่มั่นใจสามารถปรึกษากับคุณหมอเด็กที่ศูนย์ทันตกรรมเด็ก TDH Kids สามารถเดินทางมาได้ที่ TDH Kids สาขาปุณณวิถี (อาคารเดียวกับ TDH Dental สาขาปุณณวิถี) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS ปุณณวิถี (ทางออก 6 เดินตาม Skywalk จนสุดแล้วลงสะพานลอยฝั่ง Cloud 11 จาก คลินิกจะอยู่ถัดจากป้ายรถเมล์หน้า cloud 11) หรือหากนำรถส่วนตัวมา ทางคลินิกก็มีที่จอดรถบริการเช่นกัน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-744-7114 and, 089-744-7114

Related posts

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ได้ที่
ยอมรับ
ปฏิเสธ
Privacy Policy